การศึกษาการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (A study of the participation with the Educational Quality Assurance in Songkhla Rajabhat University)

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

ศรีวรรณ ขำตรี

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2556

เลขหมู่: 

ว.78.107 ศ17ก

รายละเอียด: 

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมการประกันคุณภาพการศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา และเพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมการประกันคุณภาพการศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา จำแนกตาม เพศ ชั้นปี และคณะ โดยทำการสุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาทุกชั้นปี ทั้ง 7 คณะ จำนวน 386 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมการประกันคุณภาพการศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัย ราชภัฏสงขลาเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ หาค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test) การทดสอบสมมติฐานกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษาสรุปได้ ดังนี้ 1. การมีส่วนร่วมการประกันคุณภาพการศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ในภาพรวมอยู่ระดับมาก (Avg=3.91, SD = 0.45) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ระดับมาก คือ ด้านการเรียนการสอน (Avg=3.91, SD = 0.52)ด้านการวิจัย (Avg=3.89, SD = 0.60) ด้านการบริการวิชาการแก่สังคม (Avg=3.91, SD = 0.50) และด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม (Avg=3.92, SD = 0.52) 2. เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยของการมีส่วนร่วมการประกันคุณภาพการศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา จำแนกตามเพศ พบว่า เพศชาย มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.34 (SD = 0.46) และเพศหญิง มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.29 (SD = 0.45) เมื่อทำการทดสอบ พบว่า นักศึกษาที่มีเพศต่างกันมีส่วนร่วมการประกันคุณภาพการศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยของการมีส่วนร่วมการประกันคุณภาพการศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา จำแนกตามชั้นปี พบว่า นักศึกษาชั้นปีต่างกันมีส่วนร่วมการประกันคุณภาพการศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อทดสอบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จะทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยใช้วิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’s) พบว่า ไม่มีคู่ใดที่แตกต่างกัน 4. เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยของการมีส่วนร่วมการประกันคุณภาพการศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา จำแนกตามคณะ พบว่า นักศึกษาที่ศึกษาคณะต่างกันมีส่วนร่วมการประกันคุณภาพการศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อทดสอบมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จะทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยใช้วิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’s method)พบว่า แตกต่างกันทั้งหมด 13 คู่

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การศึกษาการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา