การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาด้านการมีส่วนร่วมต่อการบูรณาการของบุคลากรฯ 2) ศึกษาปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมต่อการบูรณาการของบุคลากรฯ และ 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพการประกันคุณภาพการศึกษาด้านการมีส่วนร่วมต่อการบูรณาการของบุคลากรฯ โดยการศึกษาครั้งนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลบุคลากร จำนวน 400 คน โดยใช้สถิติค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมทั้งหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยใช้การทดสอบของค่าสถิติไคสแควร์ (Chi-Square) การทดสอบความแตกต่างของค่าที (t-Test) การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวน (One-Way ANOVA) และการทดสอบค่าเอฟ (f-Test) รวมถึงข้อมูลจากกลุ่มผู้ซึ่งมีส่วนร่วมต่อการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา จำนวน 154 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่มย่อยเป็นเครื่องมือ และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงพรรณนาด้วยการอธิบายความ
ผลการวิจัยพบว่า 1) บุคลากรส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในระดับหน่วยงานของตนเอง โดยมีบทความเป็นผู้ร่วมดำเนินงานและมีความสม่ำเสมอในการให้ความร่วมมือในหน่วยงานบ่อยครั้ง ซึ่งได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมต่อการประกันคุณภาพการศึกษาในระดับปานกลาง ทั้งนี้ปัจจัยส่วนบุคคลแต่ละด้านมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมที่แตกต่างกัน ซึ่งภาพรวมระดับความคิดเห็นต่อสภาพการประกันคุณภาพการศึกษาอยู่ในระดับมาก โดยมีด้านการสนับสนุนการมีส่วนร่วมต่อการประกันคุณภาพการศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการประกันคุณภาพการศึกษาภายในมีภาพรวมอยู่ในระดับมากทั้งปัจจัยภายในและภายนอก และ 3) แนวทางการพัฒนาศักยภาพการประกันคุณภาพการศึกษาด้านการมีส่วนร่วมต่อการบูรณาการของบุคลากรฯ โดยส่งเสริมพฤติกรรมการมีส่วนร่วมให้ ชัดเจนทั้งระดับหน่วยงานและระดับมหาวิทยาลัย พัฒนาสภาพการดำเนินงานด้านประกันคุณภาพการศึกษา และควบคุมปัจจัยที่มีผลต่อการประกันคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน |