รายละเอียด: |
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงของประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปีขึ้นไปในอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ประชากรที่ใช้ ได้รับการตรวจคัดกรองกลุ่มภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 7,474 คน จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล 18 แห่ง กลุ่มตัวอย่างใช้เทียบกับตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ ยามาเน่ (Taro Yamane) ได้จำนวน 380 คน แล้วใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (stratified random sampling) ประกอบด้วย กลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานจำนวน 142 คน กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 238 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม ประกอบด้วย ด้านความรู้ ด้านการรับรู้ และด้านพฤติกรรมใน การดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ค่าความสอดคล้องภายในโดยใช้สัมประสิทธิ์ครอนบาช ความเที่ยงเท่ากับ 0.82 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้สถิติไคสแควร์
ผลการวิจัยพบว่า ความรู้และการรับรู้มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของ กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ( = 36.000*, Cramer’s v = 0.015 และ = 443.746*, Cramer’s v = 0.030) ความรู้และการรับรู้มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ( = 45.000*, Cramer’s v = 0.008 และ = 444.894*, Cramer’s v = 0.030)
|