การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังใช้รูปแบบซิปปาร่วมกับการสอนอ่านสะกดคำแจกลูก 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังใช้รูปแบบซิปปาร่วมกับการสอนอ่านสะกดคำแจกลูกกับเกณฑ์ร้อยละ84 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบซิปปาร่วมกับการสอนอ่านสะกดคำแจกลูกกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอนุบาลพัทลุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุงเขต 1 ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม จำนวน 43 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้รูปแบบซิปปาร่วมกับการสอนอ่านสะกดคำแจกลูก จำนวน 12 แผนมีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมระหว่าง 4.75–4.92 2) แบบทดสอบความสามารถในการอ่านออกเสียงคำ 1 ฉบับ จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่าย 0.39–0.80 และค่าอำนาจจำแนก 0.23–0.68 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการสอนโดยใช้รูปแบบซิปปาร่วมกับการสอนอ่านสะกดคำแจกลูก มีค่าความเที่ยงตรง 1.00 สถิติที่ใช้ใน
การวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความสามารถในการอ่านออกเสียงคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้รูปแบบซิปปาร่วมกับการสอนอ่านสะกดคำแจกลูกหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ.01
2. ความสามารถในการอ่านออกเสียงคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1โดยใช้รูปแบบซิปปาร่วมกับการสอนอ่านสะกดคำแจกลูกหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 84 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบซิปปาร่วมกับการสอนอ่านสะกดคำแจกลูกนักเรียนมีความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
|