ประเภท: |
วิทยานิพนธ์ |
|
ผู้แต่ง: |
ยุทธิชัย คุ่มเคี่ยม |
|
สำนักพิมพ์: |
สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
|
ปีที่พิมพ์: |
2557 |
|
เลขหมู่: |
ว.พ.363.7288 ย44ก |
|
รายละเอียด: |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้และการจัดการมูลฝอยอันตรายของประชาชนในโครงการนำร่องชุมชนจัดการมูลฝอยอันตรายอย่างถูกต้องของเทศบาลนครสงขลากับประชาชนนอกโครงการฯ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความรู้และการจัดการมูลฝอยอันตรายของประชาชนในโครงการฯและนอกโครงการฯ 3) ศึกษาแนวทางปรับปรุงพัฒนาโครงการนำร่องชุมชนจัดการมูลฝอยอันตรายอย่างถูกต้องของเทศบาลนครสงขลา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปและอาศัยอยู่ในชุมชนที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 6 ชุมชน 387 ตัวอย่าง และชุมชนนอกโครงการฯ จำนวน 6 ชุมชน 387 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม และการสนทนากลุ่ม (focus group) แบบกึ่งโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่าความรู้เกี่ยวกับมูลฝอยอันตรายของกลุ่มตัวอย่างในโครงการฯ และนอกโครงการฯ โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อยมาก ( = 14.62, 14.06 ตามลำดับ) ไม่แตกต่างกัน การปฏิบัติในการจัดการมูลฝอยอันตรายโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับค่อนข้างดี ( =1.99, 1.96 ตามลำดับ) ไม่แตกต่างกัน ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลด้าน เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ของกลุ่มตัวอย่างในโครงการฯ กับความรู้เกี่ยวกับมูลฝอยอันตราย พบว่า ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ มีความสัมพันธ์ กันอย่างมีนัยสำคัญที่ .05 ในขณะที่การปฏิบัติในการจัดการมูลฝอยอันตรายพบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยส่วนบุคคล ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างนอกโครงการฯ กับความรู้เกี่ยวกับมูลฝอยอันตรายและการปฏิบัติในการจัดการมูลฝอยอันตราย พบว่า ระดับการศึกษา รายได้ มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญที่ .05 จากการสนทนากลุ่ม พบว่า แนวทางการปรับปรุงพัฒนาโครงการนำร่องชุมชนจัดการมูลฝอยอันตรายอย่างถูกต้องของเทศบาลนครสงขลา ดังนี้ 1) เจ้าหน้าที่เทศบาลต้องรู้จักชุมชน มีความต่อเนื่อง ประชาชนในชุมชนควรได้รับการอบรมให้ความรู้ มีจิตสำนึกที่ดี 2) อุปกรณ์ สำหรับคัดแยกมูลฝอยอันตรายต้องเพียงพอ มีเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ที่ชัดเจน 3) วิธีการประชาสัมพันธ์ต้องต่อเนื่องและทั่วถึง ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ช่วงเวลาในการจัดกิจกรรมควรสอดคล้องกับวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนในชุมชน 4) ควรสร้างแรงจูงใจให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมและบังคับใช้เทศบัญญัติเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริงในอนาคต |
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
การประเมินผลโครงการนำร่องชุมชนจัดการมูลฝอยอันตรายอย่างถูกต้อง ของเทศบาลนครสงขลา |
|