การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยวิธีการเรียนแบบโมเดลซิปปาและแบบสืบเสาะหาความรู้ 7E 2) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนหลังเรียนที่เรียนโดยวิธีการเรียนแบบโมเดลซิปปาและแบบสืบเสาะหาความรู้ 7E กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบโมเดลซิปปา แผนการจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ 7E แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียนแบบโมเดลซิปปาและแบบสืบเสาะหาความรู้ 7E
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนด้วยวิธีการเรียนแบบโมเดลซิปปาสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนด้วยวิธีการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ 7E สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนด้วยวิธีการเรียนแบบโมเดลซิปปาและแบบสืบเสาะหาความรู้ 7E มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยวิธีการเรียนแบบโมเดลซิปปา มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 51.13 และวิธีการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ 7E มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 82.7 และ 4) นักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการเรียนแบบโมเดลซิปปา มีความพึงพอใจต่อการเรียน อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.48 ส่วนนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ 7E มีความพึงพอใจต่อการเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.5 |