ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาในระดับอนุปริญญา:กรณีศึกษาวิทยาลัยชุมชนสงขลา จังหวัดสงขลา

ประเภท: 

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง: 

ชนัญชิดา เพชรมณี

สำนักพิมพ์: 

สาขาวิชาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2558

เลขหมู่: 

ว.พ.378.103 ช15ป 2558

รายละเอียด: 

การศึกษาเรื่องปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาในระดับอนุปริญญา: กรณีศึกษาวิทยาลัยชุมชนสงขลา จังหวัดสงขลา ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7P’s) ที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาในระดับอนุปริญญาของวิทยาลัยชุมชนสงขลา จังหวัดสงขลา 2) ศึกษาปัจจัยข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์ต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7P’s) ที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาในระดับอนุปริญญาของวิทยาลัยชุมชนสงขลา จังหวัดสงขลา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7P’s) กับการตัดสินใจเข้าศึกษาในระดับอนุปริญญาของวิทยาลัยชุมชนสงขลา จังหวัดสงขลา และ 4) กำหนดแนวทางในการส่งเสริมให้ผู้สนใจเข้ารับการศึกษาในวิทยาลัยชุมชนสงขลาเพิ่มมากขึ้น กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ คือ กลุ่มนักศึกษาที่ทำการสุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการคำนวณขนาดตัวอย่างประชากรโดยใช้สูตรทาโร ยามาเน่ มีจำนวน 242 คน กลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพ คือ กลุ่มนักศึกษาที่จบการศึกษาจากวิทยาลัยชุมชนสงขลา ในปีการศึกษา 2556 ซึ่งมีอาชีพการงานที่มั่นคงและมีการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จำนวน 10 คน สถิติในการนำเสนอและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) สถิติ t-test Independent, One Way ANOVA โดยทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี LSD และค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) ผลการศึกษา พบว่า 1) ระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7P’s) ที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาในระดับอนุปริญญาของวิทยาลัยชุมชนสงขลา จังหวัดสงขลา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ยกเว้นด้านลักษณะทางกายภาพอยู่ในระดับมากที่สุด 2) การเปรียบเทียบปัจจัยข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์ต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7P’s) ที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาในระดับอนุปริญญาของวิทยาลัยชุมชนสงขลา จังหวัดสงขลา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศ อายุ สถานภาพ ศาสนา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน สาขาวิชา และระดับการศึกษา โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และระดับการศึกษา โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7P’s) มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการตัดสินใจเข้าศึกษาในระดับอนุปริญญา กรณีศึกษาวิทยาลัยชุมชนสงขลา จังหวัดสงขลา โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และด้านที่มีความสัมพันธ์สูงสุด ได้แก่ ด้านบุคคล และ 4) แนวทางในการส่งเสริมให้มีผู้สนใจเข้ารับการศึกษาในวิทยาลัยชุมชนสงขลาเพิ่มมากขึ้น พบว่า ส่วนใหญ่เลือกค่าใช้จ่ายในการเล่าเรียน เพราะถูกกว่าสถาบันอื่น สถานที่เรียนอยู่ใกล้บ้าน สะดวกในการเดินทางและไม่กำหนดอายุของผู้เรียน

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาในระดับอนุปริญญา:กรณีศึกษาวิทยาลัยชุมชนสงขลา จังหวัดสงขลา