การพัฒนาน้ำหมักชีวภาพจากเปลือกจำปาดะด้วยเชื้อ Bacillus sp. (Development of Bioextract Fermented from Champedak Peel by Bacillus sp.)

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

อมรรัตน์ ชุมทอง, คริษฐ์สพล หนูพรหม

สำนักพิมพ์: 

สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2558

เลขหมู่: 

ว.631.87 อ16ก

รายละเอียด: 

เปลือกจำปาดะเป็นวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่มีมากทางภาคใต้ของประเทศไทย มีคาร์โบไฮเดรตสูงเหมาะสมสำหรับเป็นแหล่งพลังงานของจุลินทรีย์ช่วยย่อยสลาย ดังนั้นการวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาน้ำหมักชีวภาพจากเปลือกจำปาดะด้วยเชื้อ Bacillussp.และศึกษาประสิทธิภาพของน้ำหมักชีวภาพจากเปลือกจำปาดะต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกวางตุ้ง โดยทำการเตรียมน้ำหมักชีวภาพ 6 สูตร มีส่วนประกอบและอัตราส่วน ดังนี้1)น้ำหมักชีวภาพสูตรที่ 1(เปลือกจำปาดะ 3 กิโลกรัม + กากน้ำตาล 250 มิลลิลิตร + น้ำเปล่า 10ลิตร + สารเร่งซุปเปอร์พด.2 25 กรัม) 2)น้ำหมักชีวภาพสูตรที่ 2(เปลือกจำปาดะ 3 กิโลกรัม + กากน้ำตาล 250 มิลลิลิตร + น้ำเปล่า 10ลิตร + เชื้อ Bacillus sp. 25 มิลลิลิตร) 3)น้ำหมักชีวภาพสูตรที่ 3(เปลือกจำปาดะ 3 กิโลกรัม + กากน้ำตาล 125 มิลลิลิตร + น้ำเปล่า 10ลิตร + สารเร่งซุปเปอร์พด.2 25 กรัม) 4)น้ำหมักชีวภาพสูตรที่ 4(เปลือกจำปาดะ 3 กิโลกรัม + กากน้ำตาล 125 มิลลิลิตร + น้ำเปล่า 10ลิตร + เชื้อ Bacillus sp. 25 มิลลิลิตร) 5)น้ำหมักชีวภาพสูตรที่ 5(เปลือกจำปาดะ 3 กิโลกรัม + น้ำเปล่า 10ลิตร + สารเร่งซุปเปอร์พด.2 25 กรัม)และ 6)น้ำหมักชีวภาพสูตรที่ 6(เปลือกจำปาดะ 3 กิโลกรัม + น้ำเปล่า 10ลิตร + เชื้อBacillus sp. 25 มิลลิลิตร) พบว่า หลังจากการหมัก 30วัน น้ำหมักชีวภาพจากเปลือกจำปาดะแต่ละสูตรมีสมบัติกายภาพและทางเคมีไม่แตกต่างกัน โดยน้ำหมักชีวภาพมีอุณหภูมิในถังหมักอยู่ที่ 28-29องศาเซลเซียส มีสภาพเป็นกรด มี pH 3.3-3.8 ค่าการนำไฟฟ้าสูง (8.5-12.7 dS/m) ปริมาณธาตุอาหารหลักต่ำ (0.02-0.04% N, 30.79-66.72 mg/l P และ 0.13-0.22% K) สำหรับผลการทดลองของน้ำหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกวางตุ้งในสภาพแปลงทดลอง ที่ระดับความเข้มข้น 1:500 ความถี่ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ในบล็อก (Randomized Complete Block Design; RCBD) ประกอบด้วย 8วิธีการทดลองๆ ละ 3 ซ้ำ ดังนี้ 1)น้ำหมักชีวภาพสูตรที่ 1 2)น้ำหมักชีวภาพสูตรที่ 2 3)น้ำหมักชีวภาพสูตรที่ 3 4)น้ำหมักชีวภาพสูตรที่ 4 5)น้ำหมักชีวภาพสูตรที่ 5 6)น้ำหมักชีวภาพสูตรที่ 6 7) ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 และ 8) ชุดควบคุม พบว่า ผักกวางตุ้งทุกวิธีการทดลองมีอายุการเก็บเกี่ยว (31.93-35.67 วัน) และการรอดตาย (90.00-97.50 เปอร์เซ็นต์) ไม่แตกต่างกันทางสถิติ น้ำหมักชีวภาพสูตรที่ 4ให้จำนวนใบ ความสูงต้น และน้ำหนักสดมากที่สุด (13.30ใบ/ต้น, 40.40 เซนติเมตร/ต้น และ 3,118.93กิโลกรัม/ไร่ ตามลำดับ) และมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ (p≤0.05) กับชุดควบคุม (10.27ใบ/ต้น, 31.67 เซนติเมตร/ต้น และ 1,568.00กิโลกรัม/ไร่ ตามลำดับ)

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การพัฒนาน้ำหมักชีวภาพจากเปลือกจำปาดะด้วยเชื้อ