ผลของโปรแกรมการสื่อสารของผู้ปกครองกับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในเรื่องเพศ กรณีศึกษา: ตำบลโพธิ์เสด็จ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช (EFFECT OF COMMUNICATION TRAINING PROGRAM FOR GUARDIAN OF LOWER SECONDARY SCHOOL STUDENTS ON SEX EDUCATION CASE STUDY

ประเภท: 

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง: 

จรรยาภรณ์ จันทมาศ

สำนักพิมพ์: 

สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2558

เลขหมู่: 

ว.พ.613.907 จ17ผ 2558

รายละเอียด: 

การศึกษาผลของโปรแกรมการสื่อสารของผู้ปกครองกับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในเรื่องเพศ กรณีศึกษา ตำบลโพธิ์เสด็จ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยใช้รูปแบบการทดลอง 1 กลุ่ม (One group pretest – posttest design) วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อเปรียบเทียบทักษะการสื่อสารของผู้ปกครองกับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในเรื่องเพศก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมตามคู่มือการจัดกิจกรรมการสื่อสารระหว่างพ่อแม่ ผู้ปกครอง กับบุตรหลาน ขององค์การแพธ และหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ปกครองกับทักษะการสื่อสารในเรื่องเพศ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปกครองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในพื้นที่กรณีศึกษา จำนวน 32 คน โดยเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ คือ บทบาทสมมติ แบบประเมินทักษะการสื่อสาร และแนวทางการสนทนากลุ่มแบบกึ่งโครงสร้าง ทำการประเมินทักษะการสื่อสารที่เกิดจากกิจกรรมใน 4 ทักษะ คือ การตอบคำถาม การสื่อสารเชิงบวก การฟัง และการเผชิญสถานการณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมโดยใช้ t-test และหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับทักษะการสื่อสารโดยใช้สถิติไคสแควร์ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ทักษะการสื่อสารของผู้ปกครองกับนักเรียนในเรื่องเพศก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมฯ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยก่อนเข้าร่วมโปรแกรมทักษะการสื่อสารอยู่ในระดับปานกลาง หลังเข้าร่วมโปรแกรมทักษะอยู่ในระดับสูง และทักษะการสื่อสารทุกทักษะไม่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยส่วนบุคคล ผลจากการสนทนากลุ่ม พบว่า ควรพาเยาวชนและผู้ปกครองเข้ามาร่วมอบรมพร้อมกันเพราะจะได้มีการปรับทักษะการสื่อสารไปพร้อม ๆ กัน จากการวิจัยครั้งนี้สรุปว่า ทักษะการสื่อสารเป็นแนวทางเพิ่มความตระหนักและความสะดวกใจให้ผู้ปกครองมาปรับใช้กับเยาวชนทำให้เกิดความไว้วางใจในการปรึกษาปัญหาในเรื่องเพศ สามารถป้องกันปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงจากการมีเพศสัมพันธ์ในวัยที่ไม่เหมาะสมได้

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ผลของโปรแกรมการสื่อสารของผู้ปกครองกับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในเรื่องเพศ กรณีศึกษา: ตำบลโพธิ์เสด็จ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช