แนวทางการพัฒนาการให้บริการรถรางนำชมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในเขตเทศบาลนครสงขลา จังหวัดสงขลา (THE DEVELOPMENT OF SERVICE SINGORA TRAM TOUR FOR CULTURAL TOURISM IN THE MUNICIPALITY OF SONGKHLA PROVINCE )

ประเภท: 

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง: 

ภูษณิสา ด้วงดน

สำนักพิมพ์: 

สาขาวิชาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2557

เลขหมู่: 

ว.พ.338.4791 ภ418น 2557

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการดำเนินงานการให้บริการรถรางนำชมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตเทศบาลนครสงขลา จังหวัดสงขลา 2) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดการให้บริการรถรางนำชมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตเทศบาล นครสงขลา จังหวัดสงขลา และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการให้บริการรถรางนำชมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตเทศบาลนครสงขลา จังหวัดสงขลา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัย 2 แบบ ได้แก่ 1) การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคล และการสนทนากลุ่ม ซึ่งผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่เทศบาลนครสงขลา จำนวน 5 คน และ 2) การวิจัยเชิงปริมาณ โดยการสำรวจข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างคือ นักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง จำนวน 2 ฉบับ และเป็นแบบสอบถาม 1 ฉบับ จำนวน 40 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t-test การทดสอบค่าเอฟ และการทดสอบรายคู่ตามวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษารูปแบบการดำเนินงานการให้บริการรถรางนำชมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตเทศบาลนครสงขลา จังหวัดสงขลา มีรูปแบบการดำเนินงานการให้บริการรถรางโดยยึดหลักการดำเนินงานตามปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 7Ps 2) การศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดการให้บริการรถรางนำชมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตเทศบาลนครสงขลา จังหวัดสงขลา นักท่องเที่ยวชาวไทยมีความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดการให้บริการรถรางอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงตามค่าเฉลี่ย จากมากที่สุดลงมาหาน้อยสุด ได้แก่ ด้านบุคลากรการให้บริการ รองลงมาด้านสถานที่การให้บริการ ด้านผลิตภัณฑ์การให้บริการ ด้านราคาการให้บริการ ด้านกระบวนการให้บริการและด้านประชาสัมพันธ์การให้บริการ ส่วน การเปรียบเทียบปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดการให้บริการรถรางจำแนกตามข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ พบว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ และสถานภาพต่างกันมีความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีเพศต่างกันมีความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางการพัฒนาการให้บริการรถรางนำชมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตเทศบาลนครสงขลา จังหวัดสงขลา (1) การจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์รถรางชมเมืองเล่าเรื่องสงขลา (2) การปรับปรุงการจราจรเส้นทางการให้บริการรถรางเป็นระเบียบ ภูมิทัศน์สวยงาม (3) การให้บริการรถรางมีจุดจอดแวะชมบรรยากาศ ชมสินค้าเอกลักษณ์เมืองสงขลา (4) การให้บริการจุดขึ้นรถรางเพิ่มขึ้น (5) การจัดอบรมการให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่และมัคคุเทศก์ (6) การจัดศึกษาดูงาน อบรมมัคคุเทศก์เชี่ยวชาญเฉพาะทางท้องถิ่น และ (7) มีการสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการรถรางอย่างสม่ำเสมอ

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

แนวทางการพัฒนาการให้บริการรถรางนำชมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในเขตเทศบาลนครสงขลา จังหวัดสงขลา