แนวทางการนิเทศภายในโรงเรียนเอกชนในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ จังหวัดชายแดนภาคใต้ พื้นที่จังหวัดสงขลา (GUIDELINES INTERNAL SUPERVISION OF PRIVATE SCHOOL IN THE SPECIAL DEVELOPMENT ZONE OF SOUTHERN BORDER PROVINCES, SONGKHLA PROVINCE AREA)

ประเภท: 

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง: 

ษัรวา มูเก็ม

สำนักพิมพ์: 

สาขาวิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2557

เลขหมู่: 

ว.พ. 371.203 ษ117น 2557

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการนิเทศภายในโรงเรียนเอกชนของผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้าวิชาการและครูโรงเรียนเอกชนในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ พื้นที่จังหวัดสงขลา 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้าวิชาการและครูเกี่ยวกับการนิเทศภายในโรงเรียนเอกชนในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ พื้นที่จังหวัดสงขลา จำแนกตามตำแหน่ง ประสบการณ์ ขนาดของโรงเรียนและอำเภอ และ 3) ศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการนิเทศภายในโรงเรียนเอกชนในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ พื้นที่จังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้าวิชาการและครูโรงเรียนเอกชนในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ พื้นที่จังหวัดสงขลา จำนวน 398 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติทดสอบค่าเอฟ (F-test) และทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการนิเทศภายในโรงเรียนเอกชนของผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้าวิชาการและครูโรงเรียนเอกชนในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ พื้นที่จังหวัดสงขลา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง 2) ผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้าวิชาการและครูที่มี ตำแหน่ง ประสบการณ์ ขนาดโรงเรียนและปฏิบัติงานในอำเภอต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการนิเทศภายในโรงเรียนเอกชน โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการนิเทศภายในโรงเรียนเอกชนในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ พื้นที่จังหวัดสงขลา ได้แก่ 3.1) ปัญหาไม่มีการศึกษาข้อมูลในการกำหนดนโยบายและแจ้งนโยบายการนิเทศภายในไม่ทั่วถึง ไม่มีการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของบุคลากร มีการแต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศไม่ตรงกับความถนัดความสามารถ มีภาระงานสอนมากไม่มีความรู้ ความเข้าใจและบทบาทในการนิเทศ มีการเตรียมการในด้านต่าง ๆ ก่อนการนิเทศน้อย ไม่มีสื่อการนิเทศที่เหมาะสมและเพียงพอ เป็นต้น 3.2) ข้อเสนอแนะ ควรศึกษาข้อมูลให้ชัดเจนก่อนที่จะกำหนดนโยบายการนิเทศภายใน และชี้แจงนโยบายการนิเทศให้ครูเข้าใจก่อนการปฏิบัติการนิเทศ ควรศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการเพื่อให้การนิเทศประสบความสำเร็จ ควรแต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศโดยพิจารณาถึงคุณสมบัติที่เหมาะสม มีความรู้ มีเทคนิคและเข้าใจบทบาทในการนิเทศ ควรจัดทำปฏิทินและเวลาการนิเทศให้เหมาะสม ชี้แจงการใช้เครื่องมือในการนิเทศ อบรมให้ความรู้ ความเข้าใจ แก่ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ เป็นต้น

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

แนวทางการนิเทศภายในโรงเรียนเอกชนในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ จังหวัดชายแดนภาคใต้ พื้นที่จังหวัดสงขลา