ประเภท: |
วิทยานิพนธ์ |
|
ผู้แต่ง: |
ภูมินทร์ จันทพิมล |
|
สำนักพิมพ์: |
สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีการเกษตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
|
ปีที่พิมพ์: |
2559 |
|
เลขหมู่: |
ว.พ.632.6 ภ416ป 2559 |
|
รายละเอียด: |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพสารสกัดหยาบจากใบแสงจันทร์และใบกระดุมทองเลื้อยในการกำจัดหอยเชอรี่ และการยอมรับของชาวนา อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี งานวิจัยนี้มี 2 การทดลอง การทดลองที่ 1 การศึกษาสารสกัดหยาบจากใบแสงจันทร์ และใบกระดุมทองเลื้อยสกัดด้วยวิธีมาเซอเรชัน (maceration) ด้วยตัวทำละลายเอทานอลในการกำจัดหอยเชอร์รี่แผนการทดลองเป็นแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design; CRD) แบ่งออกเป็น 4 สิ่งทดลอง ๆ 3 ซ้ำ ๆ ละ 10 ตัว คือ 1) น้ำเปล่า 2) เมทัลดีไฮด์ ความเข้มข้น 33.33 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร 3) สารสกัดหยาบจากใบแสงจันทร์ ความเข้มข้น 13.25 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และ 4) สารสกัดหยาบจากใบกระดุมทองเลื้อย ความเข้มข้น 13.25 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร พบว่า ที่เวลา 24 ชั่วโมง และ 48 ชั่วโมง การใช้สารเมทัลดีไฮด์ มีค่าเฉลี่ยจำนวนหอยเชอรี่ตายสูงสุด (53.3 และ 100 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ) และไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) จากสารสกัดจากใบกระดุมทองเลื้อยที่ระดับความเข้มข้น 13.25 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร (30.0 และ 96.57 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ) ในขณะที่การใช้สารสกัดจากใบแสงจันทร์ที่ระดับความเข้มข้น 13.25 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรมีค่าเฉลี่ยจำนวนหอยเชอรี่ตาย (6.66 และ 16.65 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ) ให้ผลไม่แตกต่างจากชุดควบคุม (0 และ 0 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ) การทดลองที่ 2 ได้ดำเนินการเพื่อถ่ายทอดผลการทดลองที่ 1 ให้กับเกษตรกรในอำเภอปานาเระ จังหวัดปัตตานี โดยใช้แบบสอบถามและสัมภาษณ์ เก็บข้อมูลจากเกษตรกร จำนวน 40 คน พบว่า เกษตรกรมีการยอมรับการใช้สารสกัดจากใบแสงจันทร์และใบกระดุมทองเลื้อยสามารถการกำจัดหอยเชอรี่ได้ในระดับสูง |
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
ประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืชต่อการกำจัดหอยเชอรี่ และการยอมรับของชาวนา อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี |
|