กลไกการเชื่อมโดยการแพร่ของอะลูมิเนียมหล่อกึ่งของแข็ง ระหว่าง เกรด 356 กับ 7075 (Mechanics of Diffusion Welding between of SSM 356 with 7075 Aluminum Alloy)

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

ศุภชัย ชัยณรงศ์, ชัยยุทธ มีงาม

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2559

เลขหมู่: 

ว.671.52 ศ46ก

รายละเอียด: 

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการเชื่อมต่ออะลูมิเนียมหล่อกึ่งแข็งSSM 356 กับอะลูมิเนียมหล่อกึ่งแข็ง SSM 7075 ด้วยกระบวนการเชื่อมโดยการแพร่ ในการทดลองใช้อะลูมิเนียมหล่อกึ่งแข็ง เกรด 356 กับอะลูมิเนียมหล่อกึ่งแข็ง เกรด 7075 ทรงกระบอกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 12.มิลลิเมตร ยาว 45.มิลลิเมตร โดยกำหนดปัจจัยในการเชื่อม คืออุณหภูมิขณะเชื่อม 400, 450, 500 และ.550 องศาเซลเซียส เวลาในการกดแช่ 60.และ 120 นาทีและแรงกด 3 MPa ภายใต้บรรยากาศอาร์กอนที่ปกคลุม.4.ลิตรต่อนาที..หลังจากการเชื่อมทำการทดสอบสมบัติทางกล. และวิเคราะห์โครงสร้างทางโลหะวิทยา..ผลจากการทดลองเชื่อม..พบว่าตัวแปรที่เหมาะสมในการเชื่อม..คือ..อุณหภูมิขณะเชื่อม.500.องศาเซลเซียส..เวลาในการกดแช่ 120.นาทีและแรง กด.3.MPa.เพราะให้สมบัติทางกลมากที่สุด..โดยค่าความแข็งแรงดึงเฉลี่ยสูงสุดหลังจากเชื่อม..มีค่า.94.94.MPa..เมื่อเทียบกับเนื้อโลหะเดิมของอะลูมิเนียมหล่อกึ่งแข็ง.SSM.356 อยู่ที่ประมาณร้อยละ.56.48..และอะลูมิเนียมหล่อกึ่งแข็ง.SSM.7075..อยู่ประมาณร้อยละ.65.85..และค่าความแข็งของชิ้นงานหลังจากการเชื่อมมีค่าเพิ่มขึ้น..เมื่อเปรียบเทียบกับความแข็งเดิมของวัสดุโดยค่าความแข็งบริเวณรอยต่อเฉลี่ยจะอยู่ที่.105.8.HV..ด้านข้างของอะลูมิเนียมหล่อกึ่งแข็ง.SSM.356..มีค่าความแข็งอยู่ที่.89.3.HV..และด้านข้างของอะลูมิเนียมหล่อกึ่งแข็ง.SSM.7075มีค่าความแข็งอยู่ที่.122.4.HV..ซึ่งค่าความแข็งสูงกว่าเนื้อโลหะเดิม..เป็นผลมาจากอุณหภูมิและเวลาส่วนโครงสร้างจุลภาคหลังจากกระบวนการเชื่อมโดยการแพร่..เป็นโครงสร้างก้อนกลมซึ่งมีความใกล้เคียงกับโครงสร้างเนื้อโลหะเดิมของวัสดุ

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

กลไกการเชื่อมโดยการแพร่ของอะลูมิเนียมหล่อกึ่งของแข็ง ระหว่าง เกรด 356 กับ 7075