ประเภท: |
งานวิจัย |
|
ผู้แต่ง: |
อาชารินทร์ แป้นสุข, อิบรอฮิม ยี่สุ่นทรง |
|
สำนักพิมพ์: |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
|
ปีที่พิมพ์: |
2559 |
|
เลขหมู่: |
||
รายละเอียด: |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้การสื่อสารพระราชอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในการเป็นต้นแบบของการส่งเสริมนันทนาการแห่งอนาคต ในทัศนะของนักวิชาการภาคใต้ ประกอบด้วย จิตรกรรม ประติมากรรม ดนตรี ภาพถ่าย ภาพถ่าย ภาษา และการกีฬา การวิจัยนี้ใช้เทคนิคเดลฟาย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักวิชาการจากกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคใต้, กลุ่มมหาวิทยาลัยเอกชนภาคใต้, กลุ่มมหาวิทยาลัยด้านการวิจัยภาคใต้ และกลุ่มนักกิจกรรมของภาคใต้ จำนวน 15 ท่าน สถิติที่ใช้ ได้แก่ มัธยฐาน และพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัยพบว่า นักวิชาการมีความเห็นสอดคล้องกันว่า ความเป็นไปได้พระราชอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในการเป็นต้นแบบของการส่งเสริมนันทนาการแห่งอนาคตในเรื่องดังต่อไปนี้ 1) ให้บุคคลสามารถเข้าถึงดุลภาพในการเดินทางสายกลาง มีความพอดี พอควรและเพียงพอมากที่สุดจนถึงสมบูรณ์ที่สุด 2) สามารถสร้างสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจ และจิตสาธารณะ 3) การรักษาวัฒนธรรมตามวิถีคนไทยทั้งชาติให้ยั่งยืน เช่น นำพระราชอัจฉริยภาพมาบูรณาการกับสถาบันชาติ สถาบันศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์ ภายใต้ความเป็นไทยแท้และเอกลักษณ์ความเป็นไทย 4) การนำพระราชอัจฉริยภาพของพระองค์ท่านในการส่งเสริมเป็นเครื่องป้องกันประเทศชาติ สร้างความสมานฉันท์ สร้างความเป็นหนึ่งเดียวของคนไทยทั้งมวล 5) การนำพระราชอัจฉิรยภาพของพระองค์ท่านด้านกีฬาเป็นต้นแบบของการบูรณาการพื้นฐานการพัฒนาสู่มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งประเทศไทยในอนาคตอันเนื่องมาจากพระราชอัจฉริยภาพด้านกีฬาของพระองค์ท่าน และ 6) สามารถเชื่อมโยงและสื่อสารเป็นศาสตร์ของพระราชาในรัชกาลที่ 9 กับพระราชอัจฉริยภาพของพระองค่ทาน |
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
การสื่อสารนันทนาการแห่งอนาคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช |
|