การจัดการเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกกิจสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ กรณีศึกษา : ผลิตภัณฑ์ผ้าผืน ในจังหวัดสงขลา ( WORKING CAPITAL MANAGEMENT TO SUPPORT ONE TAMBON ONE PRODUCT BUSINESS: CASE STUDY OF FABRIC PRODUCT IN SONGKHLA PROVINCE)

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

นุชษรา พึ่งวิริยะ

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2557

เลขหมู่: 

รายละเอียด: 

การวิจัย เรื่อง การจัดการเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ กรณีศึกษา: ผลิตภัณฑ์ผ้าผืน ในจังหวัดสงขลา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการเงินทุนหมุนเวียน แหล่งเงินทุนหมุนเวียนการจัดการเงินทุนหมุนเวียน และรูปแบบการบริหารจัดการเงินทุนหมุนเวียน เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ หมวดผลิตภัณฑ์ผ้าผืนในจังหวัดสงขลา โดยทำการศึกษาจากสมาชิกกลุ่ม จำนวน 55คน และจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้บริหารกลุ่ม ได้แก่ ประธาน รองประธาน เหรัญญิก และเลขานุการ กลุ่มธุรกิจสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ประเภทผ้า เครื่องแต่งกาย ผ้าผืน หมวดผลิตภัณฑ์ผ้าผืน ในจังหวัดสงขลา ที่ผลิตภัณฑ์ได้รับการคัดสรรในระดับ 5ดาว และระดับ 4ดาว ในปี พ.ศ. 2555จำนวน 4กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทอผ้าร่มไทร กลุ่มสงขลาบาติก กลุ่มทักษิณเมืองทองบาติก และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนโชติช่วงบาติก 2 ผลการวิจัย พบวา รูปแบบการบริหารเงินทุนหมุนเวียนเหมาะสมในการดำเนินธุรกิจ ประกอบไปด้วย 3ส่วน ได้แก่ 1) การจัดหาเงินทุน แหล่งจัดหาเงินทุนหมุนเวียนที่เหมาะสมมาจากแหล่งเงินทุนจากเจ้าของกิจการ และจากการก่อหนี้ระยะสั้น 2) การจัดสรรเงินทุนกิจการ ควรจัดสรรเงินทุนเพื่อใช้ในการจัดซื้อวัตถุดิบเพื่อนามาใช้ในการผลิตสินค้าและการจัดซื้อสินค้าเพื่อการจำหน่าย และ 3) นโยบายการจ่ายเงินปันผล ควรดำเนินการแบ่งกำไรจากการดำเนินงานออกเป็น 2 ส่วน คือ การปันผลให้กับสมาชิก และการนำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ จากการศึกษา พบวา กลุ่มทอผ้าร่มไทร เป็นกลุ่มเดียวที่มีการจัดการเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจที่ดี โดยมีการบริหารงานกลุ่มในรูปแบบของการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารงาน มีแหล่งเงินทุนมาจากแหล่งเงินทุนภายใน ได้แก่ เงินฝากและเงินปันผลรายได้จากการรับฝากขายสินค้าของสมาชิกกลุ่ม และ การบริหารงานกลุ่มจะนำเงินที่นทได้ มาจัดซื้อวัตถุดิบเพื่อจัดสรรให้กับสมาชิกในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด และเมื่อสมาชิกผลิตสินค้าสำเร็จรูปแล้ว ก็สามารถนำมาฝากขายที่กลุ่มได้ โดยกลุ่มจะมีการหักเงินปันผลจากการรับฝากขายเพื่อนำมาใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการบริหารงาน ทำให้กลุ่มมีเงินทุนหมุนเวียนเพียงพอต่อการดำเนินงาน โดยไม่มีการกู้ยืมเงินจากแหล่งเงินทุนภายนอก

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การจัดการเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกกิจสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ กรณีศึกษา : ผลิตภัณฑ์ผ้าผืน ในจังหวัดสงขลา