การพัฒนาการตลาดแพะเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ของเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะในจังหวัดสงขลา ( Development in Goat Marketing for the Economic Value Added of Goat Farmers in the Songkhla)

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

ชูตา แก้วละเอียด, ธนภัทร ยีขะเด, ประภาพร ยางประยงค์, ธนัญญา ยินเจริญ,สิริกันยา โชติช่วง, อาชารินทร์ แป้นสุข

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2558

เลขหมู่: 

รายละเอียด: 

การวิจัยเรื่องการพัฒนาการตลาดแพะเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะนี้มี วัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อศึกษาศักยภาพปัจจุบันของการเลี้ยงแพะเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของเกษตรกรในจังหวัดสงขลา (2) เพื่อพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดของผลิตภัณฑ์แพะเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจและ (3) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาการตลาดและศักยภาพการแข่งขันของผู้เลี้ยงแพะในจังหวัดสงขลา ิวีธการเก็บรวบรวมข้อมูลมีเครื่องมือคือแบบสอบถามและแบบประเด็นคําถามสําหรับการสัมภาษณ์จํานวนตัวอย่างมี 6 กลุ่ม รวมทั้งหมด 546 คนได้แก่กลุ่มที่หนึ่งเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะจํานวน 511 คนกลุ่มที่สองผู้ประกอบการผู้เลี้ยง แพะจํานวน 9 คนกลุ่มที่สามธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูปผลิตภัณฑ์แพะจํานวน 10 คนกลุ่มที่สี่เจ้าหน้าที่องค์กรภาครัฐที่สนับสนุนและส่งเสริมการเลี้ยงแพะจํานวน 5 คนกลุ่มที่ห้าผู้บริโภคจํานวน 6 คนและกลุ่มที่หกนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตและการตลาดจํานวน 5 คนส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลมีทั้งเชิงปริมาณและเชิงพรรณนาโดยใช้สถิติพื้นฐานคือค่าความถี่ค่าสัดส่วนและค่าร้อยละ ผลการวิจัยศักยภาพปัจจุบันของการเลี้ยงแพะเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะในจังหวัดสงขลา พบว่า ทั้งผู้เลี้ยงแพะเนื้อและแพะนมส่วนใหญ่เป็นเพศชายนับถือศาสนาอิสลาม มีการจัดการการเลี้ยงแพะคล้ายกันทั้งจํานวนแรงงานที่ใช้เลี้ยงแพะพื้นที่เลี้ยงแพะประสบการณ์การเลี้ยงแพะ และมีวัตถุประสงค์การเลี้ยงแพะเพื่อจําหน่ายผลผลิตเป็นหลักส่วนการวิเคราะห์ศักยภาพบนฐานแนวคิดต้นทุนและผลตอบแทน พบว่าต้นทุนการเลี้ยงแพะประกอบด้วยต้นทุนผันแปรและต้นทุนคงที่โดยต้นทุนผันแปรมีมูลค่าค่อนข้างสูงค่า พันธ์ุแพะที่เกษตรกรซื้อมามีสัดส่วนของต้นทุนสูงที่สุดในส่วนผลตอบแทนเฉลี่ยที่ได้มาจากการจําหน่ายแพะมีชีิวตเป็นสัดส่วนสําคัญที่สุดและปริมาณผลผลิตที่จุดคุ้มทุนโดยคํานวณจากราคาขายของแพะหนึ่งตัวเฉลี่ย 7,000 บาทคือเกษตรกรควรจะเลี้ยงแพะให้ได้น้ําหนักอยู่ที่ 17.1 กิโลกรัมต่อตัวึจงจะคุ้มทุนโดยจําหน่ายที่ราคา 152.7 บาทต่อกิโลกรัม และผลการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดของผลิตภัณฑ์แพะเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจพบว่ากลยุทธ์ทางการตลาดของผลิตภัณฑ์แพะเนื้อเน้นการมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายรูปแบบทั้งในรูปแพะมีชีิวตเนื้อแพะแปรรูปอาหารสําเร็จรูปจากแพะอาหารหมักจากแพะและแพะกระป๋องและกลยุทธ์การกําหนดราคาที่เหมาะสมกลยุทธ์การเพิ่มช่องทางการจัดจําหน่ายและกลยุทธ์การสร้างเครือข่ายทั้งในระดับชุมชนระดับจังหวัด ระดับประเทศ และขยายกว้างขึ้นเป็นระดับสากลในส่วนผลิตภัณฑ์แพะนมมีผลผลิตหลายรูปแบบทั้งในรูปนมแพะพร้อมดื่มพาสเจอร์ไรซ์เครื่องสําอางจากนมแพะโยเกิร์ตและไอศกรีมนมแพะทําให้มีกลยุทธ์ทางการตลาดแตกต่างกันแต่ควรเน้นกลยุทธ์การสร้างผลิตภัณฑ์พร้อมดื่มในรูปนมแพะบรรจุขวดมีหลายรสชาติ กลยุทธ์การสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความรู้สึกหรือความเชื่อที่ดีในผลิตภัณฑ์ต่างๆของนมแพะ มีการโฆษณาให้เห็นประโยชน์จากนมแพะอีกทั้งควรแปรรูปนมแพะในรูปแบบอื่นๆเช่นเนยแข็งและชีส เป็นต้น ส่วนผลการหาแนวทางพัฒนาการตลาดและศักยภาพการแข่งขันของผู้เลี้ยงแพะในจังหวัดสงขลาจากสภาพแวดล้อมการผลิตแพะโดยการ SWOT Analysis พบว่าทั้งแพะเนื้อและแพะนมในจังหวัดสงขลามีจุดแข็งและโอกาสคือมีพื้นที่การเลี้ยงที่เพียงพอผู้ผลิตก็สนใจที่จะเลี้ยงแพะและเจ้าหน้าที่ของรัฐก็พร้อมที่จะสนับสนุนอีกทั้งผู้บริโภคหลักซึ่งเป็นชาวไทยมุสลิมและนักท่องเที่ยวมีความนิยมบริโภคแพะเป็นจํานวนมาก แม้มีจุดอ่อนและอุปสรรคบ้างเช่นเกษตรกรยังขาดการวางแผนด้านการผลิตการแปรรูปและการตลาดที่ดี อีกทั้งการโฆษณาประชาสัมพันธ์ยังมีน้อยควรมีกลยุทธ์การพัฒนาการตลาดผลิตภัณฑ์จากแพะเนื้อคือกล ยุทธ์การสร้างเครือข่ายให้กว้างขวางและเข้มแข็ง โดยอาศัยความร่วมมือกันของผู้ที่เกี่ยวข้องกับแพะเพื่อช่วยเหลือและแลกเปลี่ยนข้อมูลกันบนพื้นฐานความพอเพียงทําให้ทราบข่าวสารความเคลื่อนไหวของ ผลิตภัณฑ์แพะเนื้อตลอดห่วงโซ่อุปทานเพื่อตอบสนองอุปสงค์ของผู้บริโภคในฤดูกาลที่แตกต่างกันอีกทั้งควรมีกลยุทธ์การขยายช่องทางการตลาดของแพะเนื้อให้มีหลากหลายระดับมีตัวแทนเพิ่มขึ้นทั้งตลาดระดับท้องถิ่น ตลาดระดับจังหวัดตลาดภายในประเทศ และตลาดต่างประเทศส่วนกลยุทธ์การพัฒนาการตลาดผลิตภัณฑ์จากแพะนมควรเน้นการสื่อสารประชาสัมพันธ์การจัดทําแผนการตลาดทั้งระยะสั้นระยะปานกลางและระยะยาวที่ชัดเจนรวมถึงควรส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากนมแพะมีโรงงานผลิตนมแพะจําหน่ายทั้งปลีก และส่งทั้งในและต่างประเทศอย่างเหมาะสมกับกําลังการผลิตของเกษตรกรในพื้นที่ของจังหวัดสงขลาโดยอาศัยการวางแผนร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การพัฒนาการตลาดแพะเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ของเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะในจังหวัดสงขลา