การประเมินค่าความเป็นอันตรายทางรังสี ในทรายชายหาดบริเวณ จังหวัดปัตตานี (Assessment of radiological in the beach sand from Pattani Province)

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

มูรณี ดาโอะ

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2558

เลขหมู่: 

ว.363.1799 ม417ก

รายละเอียด: 

ได้ทำการศึกษาและตรวจวัดปริมาณกัมมันตภาพจำเพาะของนิวไคลด์กัมมันตรังสีธรรมชาติ (40K, 226Ra และ 232Th)ในตัวอย่างทรายชายหาด รวมทั้งสิ้น 250ตัวอย่าง ที่เก็บจากบริเวณชายหาด 5 ชายหาด บริเวณ 5 อำเภอของจังหวัดปัตตานี ได้แก่ หาดรัชดาภิเษก หาดตะโละกาโปร์ หาดปะนาเระ หาดวาสุกรี อำเภอสายบุรี และหาดป่าไหม้ อำเภอไม้แก่น สำหรับการตรวจวัดและวิเคราะห์ปริมาณกัมมันตภาพจำเพาะของนิวไคลด์กัมมันตรังสีธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้นในตัวอย่างทรายชายหาดทั้งหมดทำได้โดยใช้หัววัดรังสีแบบเจอร์มาเนียมบริสุทธิ์สูง (HPGe) และระบบการวิเคราะห์แบบแกมมาสเปกโตรเมตรี และใช้แหล่งกำเนิดรังสีมาตรฐานดินชนิด IAEA-SOIL-6ที่ได้รับการอนุเคราะห์จากสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบและคำนวณหาปริมาณกัมมันตภาพจำเพาะของนิวไคลด์ที่ต้องการ ทำการตรวจวัดและวิเคราะห์ผล ณ ห้องปฏิบัติการทดลองวิจัยณ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติกรุงเทพมหานคร จากผลการวิจัย พบว่า ค่ากัมมันตภาพจำเพาะที่ตรวจวัดได้ในตัวอย่างทรายชายหาดบริเวณ 5ชายหาดของจังหวัดปัตตานี ได้แก่ หาดรัชดาภิเษก หาดตะโละกาโปร์ หาดปะนาเระ หาดวาสุกรี และหาดป่าไหม้ โดยค่าเฉลี่ยของค่ากัมมันตภาพจำเพาะของ 40K มีค่าเท่ากับ 427.58 ± 14.09, 1090.62 ± 54.28, 463.95 ± 14.06, 449.07 ± 13.80 และ 433.49 ± 12.77 Bq/kgตามลำดับ ส่วนค่าเฉลี่ยของค่ากัมมันตภาพจำเพาะของ 226Ra มีค่าเท่ากับ 31.10 ± 7.63, 160.68 ± 8.07, 84.41 ± 13.09, 33.98 ± 7.76 และ 44.42 ±10.17 Bq/kg ตามลำดับ และค่าเฉลี่ยของค่ากัมมันตภาพจำเพาะของ 232Th มีค่าเท่ากับ11.40 ± 1.75, 356.65 ± 6.59, 74.50 ± 3.07, 16.04 ± 1.78 และ 26.86 ± 2.08 Bq/kgตามลำดับ นอกจากนี้ ได้นำผลการตรวจวัดปริมาณกัมมันตภาพจำเพาะของนิวไคลด์กัมมันตรังสีธรรมชาติ (40K, 226Ra และ 232Th)ที่ตรวจวัดได้นี้ไปคำนวณหาค่าอัตราปริมาณรังสีแกมมาดูดกลืน (gamma-absorbed dose rate: D)ค่ากัมมันตภาพรังสีสมมูลของเรเดียม(radium equivalent activity: Raeq)ค่าดัชนีวัดความเสี่ยงรังสีที่ได้รับจากภายนอกร่างกาย(external hazard index: Hex) และค่าปริมาณรังสียังผลที่ได้รับจากภายนอกร่างกายประจำปี (annual external effective dose rate: AEDout)ของบริเวณชายหาดทั้ง 5 ชายหาด และยังได้นำค่าที่คำนวณได้นี้มาเปรียบเทียบกับค่าที่ตรวจวัดได้กับข้อมูลของนักวิจัยทางภาคใต้ของประเทศไทย ข้อมูลจากรายงานประจำปีของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ และข้อมูลที่เป็นค่ามาตรฐานความปลอดภัยที่กำหนดไว้โดยคณะกรรมการวิทยาศาสตร์ขององค์กรสหประชาชาติเกี่ยวกับผลของรังสีปรมาณู (United Nations Scientific Committee on the Effects of Atomic Radiation: UNSCEAR, 1988, 1993, 2000)

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การประเมินค่าความเป็นอันตรายทางรังสี ในทรายชายหาดบริเวณ จังหวัดปัตตานี