พฤติกรรมการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศด้วยโอแพค (OPAC): กรณีศึกษา นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (Information Resource Searching Behavior of OPAC User : A Case Study of Students at Songkhla Rajabhat University)

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

ศรัญญา โรจนวงศ์ชัย

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2559

เลขหมู่: 

ว.025.04 ศ17พ

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบพฤติกรรมรวมถึงปัญหาการสืบค้น ทรัพยากรสารสนเทศด้วยโอแพค (OPAC) ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา โดยการวิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากนักศึกษาชั้นปีที่ 1–4 จำนวน 400 คน ใช้วิธี สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามชั้นปี นำผลวิจัยมาวิเคราะห์ด้วยการคำนวณร้อยละ ค่าความถี่ และ ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่านักศึกษาชั้นปีที่ 1 และ 2 มากกว่าครึ่งหนึ่งใช้โอแพคเพื่อค้นหาทรัพยากร สารสนเทศประกอบการเรียน ขณะที่นักศึกษาชั้นปีที่ 3 และ 4 มากกว่าครึ่งหนึ่งใช้โอแพคเพื่อค้นหา ทรัพยากรสารสนเทศประกอบการทำรายงาน/วิจัย ด้านวิธีเรียนรู้การใช้โอแพคพบว่านักศึกษาชั้นปีที่ 1 และ 4 ส่วนใหญ่เรียนรู้จากการเข้าอบรม กับห้องสมุด นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ส่วนใหญ่เรียนรู้จากการเข้าเรียนในรายวิชา ส่วนนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ส่วนใหญ่เรียนรู้จากการลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง ด้านการกำหนดคำค้นและทางเลือกการสืบค้นพบว่านักศึกษาทุกชั้นปีเกือบทั้งหมดใช้คำค้น ตรงกับเนื้อหาที่ต้องการและเลือกสืบค้นด้วยชื่อเรื่อง(คำสำคัญ) เมื่อประสบปัญหาระหว่างสืบค้นจะ เปลี่ยนคำค้น หลังจากได้รับผลสืบค้นแล้วจะคัดกรองผลสืบค้นด้วยประเภทวัสดุ และสิ้นสุดการสืบค้น เมื่อได้รับทรัพยากรสารสนเทศที่ตรงตามต้องการ นอกจากนี้ ผลการวิจัยพบว่านักศึกษาทุกชั้นปีประสบปัญหาการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ ด้วยโอแพคนาน ๆ ครั้งใน 3 ด้าน คือ 1) ผู้ให้บริการและการให้บริการ 2) ด้านผู้ใช้บริการ และ 3) ด้านระบบสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ ส่วนปัญหาด้านอุปกรณ์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตพบว่า ประสบปัญหาด้านนี้บ่อยครั้ง เมื่อเปรียบเทียบปัญหาการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศด้วยโอแพคพบว่านักศึกษาชั้นปี ต่างกันมีความถี่ในการประสบปัญหาการสืบค้นไม่แตกต่างกันใน 3 ด้าน คือ 1) ปัญหาด้านผู้ให้บริการ และการให้บริการ 2) ปัญหาด้านผู้ใช้บริการ และ 3) ปัญหาด้านระบบสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ ต่างจากปัญหาด้านอุปกรณ์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่พบว่านักศึกษาชั้นปีต่างกันมีความถี่ในการ ประสบปัญหาด้านนี้แตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีแนวโน้มว่านักศึกษาชั้นปี ที่ 4 ประสบปัญหาด้านอุปกรณ์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตบ่อยครั้งกว่านักศึกษาชั้นปีที่ 1

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

พฤติกรรมการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศด้วยโอแพค (OPAC): กรณีศึกษา นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา