สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา (Stating in Information Technology Using of OTOP Entrepreneur : A Case Study of Songkhla Province)

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

เทพกร ณสงขลา, ผกามาศ ไพโรจน์, สมสวัสดิ์ มาลาทอง, สุรีรัตน์ แก้วคีรี

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2559

เลขหมู่: 

รายละเอียด: 

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้ประกอบการ OTOP ในพื้นที่จังหวัดสงขลา การวิจัยเชิงสำรวจที่ศึกษาเฉพาะผู้ประกอบการ OTOP ประเภท “กลุ่ม ผู้ผลิตชุมชน” พบว่า โดยภาพรวม ผู้ประกอบการธุรกิจ OTOP ประเภท “กลุ่มผู้ผลิตชุมชน” ดำเนินงานมาแล้วไม่ต่า กว่า 4 ปี และผลิตสินค้าประเภทอาหารและของใช้ ในส่วนของสภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เคยได้รับการฝึกอบรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และในส่วนของผู้ประกอบการที่ไม่เคยผ่านการฝึกอบรมก็มีความตื่นตัว โดยการหาความรู้ด้วยตนเอง และมีการนำมาใชใ้นการธุรกิจ OTOP สำหรับข้อสังเกตที่เป็นปัญหาของผู้ประกอบการ OTOP คือ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เน้นการจำหน่ายสินค้ามากกว่าการสร้างภาพลักษณ์สินค้า ทำให้เสียเปรียบ คู่แข่งในตลาดใหญ่และยังเป็นการตลาดระดับชุมชน ทำให้ไม่เห็นความจำเป็นในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาพัฒนาธุรกิจ ดังนั้น แนวทางหน่ึงในการสร้างการเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ อาจจะเริ่มจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ตอบสนองวิธีการตลาดของชุมชน (เช่น การตลาดแบบ ปากต่อปาก และการจำหน่ายสินค้าในงานประจำปีของชุมชน เป็นต้น) และมีศูนย์เรียนรู้การใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพฒั นาธุรกิจ OTOP ในระดับชุมชน และการประชาสัมพันธ์เทคโนโลยี สารสนเทศรูปแบบต่าง ๆ ที่ผู้ประกอบการมีการใชเ้พื่อพัฒนาธุรกิจ

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา