ประเภท: |
งานวิจัย |
|
ผู้แต่ง: |
พงศกร จงรักษ์ |
|
สำนักพิมพ์: |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
|
ปีที่พิมพ์: |
2558 |
|
เลขหมู่: |
ว.701.17 พ12ก |
|
รายละเอียด: |
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและสังเคราะห์อัตลักษณ์ท้องถิ่นภาคใต้เพื่อเป็นแนวทางในเนื้อหาของงานทัศนศิลป์ 2) ศึกษาแนวคิดแบบWitty Thinking ในเทคนิควิธีคิดแบบกลไก 20 วิธีการ เพื่อเป็นแนวทางในการวิจัยและพัฒนาในเชิงการสร้างสรรค์ 3) เพื่อนำทฤษฎีที่สังเคราะห์ได้จากเรื่องอัตลักษณ์ท้องถิ่นภาคใต้ มาประยุกต์ใช้กับเทคนิคกลไกแนวคิดแบบ Witty Thinking มาวิจัยและพัฒนาในเชิงการสร้างสรรค์ 4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของสาธารณะชน นักวิชาการ และศิลปิน ที่มีต่อผลงานและแนวคิดในการสร้างสรรค์โครงการวิจัยชิ้นนี้ วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้นำทฤษฎีที่สังเคราะห์ได้จากเรื่องอัตลักษณ์ท้องถิ่นภาคใต้มาประยุกต์ใช้กับแนวคิดแบบWitty Thinkingในเชิงการสร้างสรรค์ ด้วยวิธีคิดแบบกลไก 20 วิธีการ มาสร้างสรรค์ผลงานต้นแบบ (Sketch) จำนวน 60 ชิ้น เพื่อศึกษาความคิดเห็นของสาธารณะชน นักวิชาการ และศิลปิน ที่มีต่อผลงานสร้างสรรค์ โดยสรุปผลให้เหลือ 20 ผลงาน สรุปผลการสร้างสรรค์คือ หัวข้อหนังตะลุงถูกเลือกมากที่สุด จำนวน 23 ชิ้น (38.3%) หัวข้อประเพณีเดือนสิบถูกเลือกเป็นลำดับที่ 2 จำนวน 12 ชิ้น (20%) หัวข้อผักเหนาะถูกเลือกเป็นลำดับที่ 3 จำนวน 11 ชิ้น (18.3%) หัวข้อมโนราห์ถูกเลือกเป็นลำดับที่ 4 จำนวน 9 ชิ้น (15%) และหัวข้อศรีวิชัย - ลังกาสุกะ ถูกเลือกเป็นลำดับที่ 5 จำนวน 5 ชิ้น (8.3%) กลุ่มตัวอย่างมีความสนใจกับรูปแบบภาพผลงานที่ออกมา โดยใช้ความคุ้นเคยกับอัตลักษณ์ในท้องถิ่น เช่น หนังตะลุง หรือประเพณีเดือนสิบ มาตีความให้มีภาพพจน์ที่แตกต่างไปจากเดิม สอดคล้องกับวิธีคิดแบบกลไกแบบแนวคิดWitty Thinking |
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
การนำทฤษฎี Witty Thinking มาในการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์จากฐานข้อมูลอัตลักษณ์ท้องถิ่นภาคใต้ |
|