คุณลักษณะการใช้ประโยชน์ในที่ดินเพื่อการจัดการทรัพยากรที่ดินอย่างยั่งยืนรองรับประชาคมอาเซียนของกลุ่มนาข้าวเพื่อการค้า โครงการพัฒนาลุ่มน้ำปากพนังตามแนวพระราชดำริ นครศรีธรรมราช (Land Characteristic for Sustainable Land Management with ASEAN

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

มุมตาส มีระมาน, อมรภัค ณ นคร, ภารดา อุทโท

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2558

เลขหมู่: 

ว.333.76 ม46ค

รายละเอียด: 

การวิจัยเรื่องการอธิบายคุณลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการจัดการทรัพยากรที่ดินอย่างยั่งยืนรองรับประชาคมอาเซียนของกลุ่มนาข้าวเพื่อการค้า ในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายคุณลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินนาข้าว และวิเคราะห์SWOT (จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค) แนวทางการปรับตัวของเกษตรกรภายใต้สถานการณ์การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน วิธีวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลพื้นฐานจากข้อมูลทุติยภูมิและข้อมูลปฐมภูมิ โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิและเทคนิคการประเมินสภาวะชนบทแบบมีส่วนร่วม (PRA)เพื่อรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ ใช้แบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้างเป็นเครื่องมือภาคสนาม กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภาครัฐ เอกชนภาควิชาการและชาวนาจำนวน 30 คน ผลการศึกษาคุณลักษณะการใช้ที่ดินในการวิจัยครั้งนี้นำเสนอผลตามกรอบแนวคิดการจัดการทรัพยากรที่ดินอย่างยั่งยืน ซึ่งจำแนกเป็น 5ด้าน คือ ผลผลิต ความเสี่ยง/ความมั่นคง การป้องกัน ความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจและการยอมรับของสังคม รายละเอียดคุณลักษณะการใช้ที่ดินของแต่ละด้าน มีดังนี้ 1) ด้านผลผลิต คือ ศักยภาพ/ข้อจำกัดของดิน แนวโน้มผลผลิต ความสามารถในการเข้าถึงแหล่งน้ำ และระดับการลงทุน 2)ด้านความเสี่ยงและความมั่นคง คือ ความถี่และการทำลายจากน้ำท่วม ความถี่ในการเกิดภัยแล้ง การรุกตัวของน้ำเค็ม และศัตรูพืชและแมลง 3)ด้านการป้องกัน คือ ความหลากหลายของสายพันธุ์ข้าว การอนุรักษ์ดินและน้ำ 4) ด้านความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจ คือ รายได้ในฟาร์มและนอกฟาร์ม ต้นทุนจากแรงงาน ขนาดพื้นที่และการถือครอง นโยบายและการสนับสนุนจากภาครัฐ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5)ด้านการยอมรับของสังคม คือ ภาวะผู้นำ การมีส่วนร่วมและการปรับตัวภายใต้การแข่งขันในประชาคมอาเซียนทางเศรษฐกิจ พื้นที่นาข้าวในโครงการพัฒนาลุ่มน้ำปากพนังจำแนกได้ 4 กลุ่ม หากพิจารณาตามผลผลิต การพึ่งพารายได้หลักและวัตถุประสงค์การผลิต ดังนี้ 1) นาข้าวเชิงการค้าแบบเข้มข้น 2)นาข้าวร่วมกับสวนผสม 3) นาข้าวร่วมกับปาล์มน้ำมัน และ 4) นาข้าวร่วมกับอาชีพอื่น ๆ ผลการการศึกษาสรุปได้ว่า จุดแข็ง คือ ศักยภาพที่ดิน ระบบชลประทานและการส่งเสริมจากภาครัฐ ส่วนจุดอ่อน คือ ผลผลิตข้าวมีระดับปานกลาง-ต่ำ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่ำ ระดับการลงทุนสูง สภาพพื้นที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมและภาวะแล้ง ความหลากหลายด้านพันธุ์ข้าวน้อย รายได้ปานกลาง การมีส่วนร่วมต่ำ ความสามารถในการปรับตัวและภูมิคุ้มกันด้านการเศรษฐกิจต่ำและการเรียนรู้ต่ำ แนวทางการปรับตัวของเกษตรกรพบว่าเกษตรควรเปลี่ยนแปลงพันธุ์ข้าวให้เหมาะสมตามความต้องการของตลาดในระดับอาเซียนและขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ศึกษาหาข้อมูล จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้และถ่ายทอดนวัตกรรม ตรวจสอบต้นทุนการผลิตข้าว และวางแผนลดต้นทุนการผลิตตามมาตรฐานต่าง ๆ โดยการลดค่าน้ำมันที่ใช้เพื่อการสูบน้ำเข้าแปลงนา และลดปริมาณการใช้สารเคมีและยาปราบศัตรูพืช เพิ่มมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำ ภาครัฐควรสนับสนุนการรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อให้เปลี่ยนเป็นเกษตรกรแปลงใหญ่ เชื่อมโยงเครือข่ายกับภาคีต่าง ๆ นอกจากนั้นภาครัฐควรเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มเพื่อให้เข้าถึงทรัพยากร มีอำนาจ ความรู้และภาวะผู้นำ สุดท้ายเกษตรกรและภาครัฐควรร่วมกันหามาตรการลดความเสี่ยงต่อน้ำท่วม ภาวะแล้ง และติดตั้งระบบการเตือนภัยโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมและภูมิปัญญาชาวบ้าน

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การอธิบายคุณลักษณะการใช้ประโยชน์ในที่ดินเพื่อการจัดการทรัพยากรที่ดินอย่างยั่งยืนรองรับประชาคมอาเซียนของกลุ่มนาข้าวเพื่อการค้า โครงการพัฒนาลุ่มน้ำปากพนังตามแนวพระราชดำริ นครศรีธรรมราช