โครงการวิจัยเชิงประยุกต์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของบ่อดักไขมันบริวเณรอบทะเลสาบสงขลาตอนกลางและตอนล่าง ( Applied Research for Study the Performance of the Grease Traps Around Middle and Lower Songkhla Lake)

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

กมลนาวิน อินทนูจิตร, นัดดา โปดำ, ขวัญกมล ขุนพิทักษ์, หิรัญวดี สุวิบูรณ์, สอแหละ บางูสัน

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2558

เลขหมู่: 

ว.628.16 ค87

รายละเอียด: 

จากการศึกษาลักษณะของน้ำเข้าและน้ำออก ประสิทธิภาพการกำจัดน้ำมันและไขมันในน้ำเสียจากครัว ร้านอาหาร และวัด ในพื้นทีลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาตอนกลางและตอนล่าง พบว่า ค่าเฉลี่ยประสิทธิภาพของบ่อดักไขมันทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้ง มีค่าใกล้เคียงกันและไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ปริมาณไขมันก่อนเข้าระบบสำหรับปริมาณไขมันก่อนเข้าระบบบำบัดทั้งสี่แบบ ได้แก่ ถังดักไขมันแบบติดตั้งที่บ้านเรือนที่มีอ่างล้างจาน ถังดักไขมันแบบที่ติดตั้งที่ร้านค้าอาหาร บ่อดักไขมันแบบนำร่องขนาด 200 ลิตร และ บ่อดักไขมันแบบนำร่องขนาด 400 ลิตรมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 58.1 1443.5 831 และ 1009 mg/Lซึ่งเป็นค่าที่แตกต่างกันมากเทียบปริมาณน้ำทิ้งกับมาตรฐานน้ำทิ้งที่ระบุให้ค่าน้ำมันและไขมันไม่เกิน 100 mg/l แล้วพบว่า ปริมาณน้ำมันและไขมันในน้ำออกของถังดักไขมันจากครัวและวัดอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน แต่น้ำทิ้งจากตลาดสดและร้านอาหารยังมีค่าเกินมาตรฐาน และเปรียบเทียบประสิทธิภาพการบำบัดแต่ละรูปแบบของถังดักไขมันทั้งสี่รูปแบบ พบว่า ถังดักไขมันแบบดักไขมันแบบนำร่องขนาด 200ลิตร และ 400ลิตรให้ประสิทธิภาพการบำบัดที่สูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับถังดักไขมันประเภทอื่น การนำกากไขมันไปใช้ประโยชน์ มีความเป็นไปได้ที่จะไปทำปุ๋ยอินทรีย์ เนื่องจากมีธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช โดยมีค่าเฉลี่ยของทุกระบบได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ โพแทสเซียม เท่ากับ 5.47 1.54และ 4.57 จะเห็นได้ว่าไนโตรเจนและโพแทสเซียมนั้นมีค่าที่เหมาะสม แต่ในส่วนของฟอสฟอรัส อาจจะจำเป็นต้องเติมฟอสฟอรัสโดยตรงหรือธาตุอาหารเช่น กระดูกป่น หรือ เถ้ากระดูก เป็นต้น สำหรับการ ทำอาหารสัตว์ พบว่าปริมาณโปรตีนที่วิเคราะห์ได้นั้นเพียงพอสำหรับการ ทำอาหารปลาและหมูคือมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 14-36 % เพราะฉะนั้นจึงมีความเป็นไปได้ในการ เป็นแหล่งวัตถุดิบสำหรับอาหารสัตว์ แต่มีปริมาณไขมันจะมีมากจึงอาจจะจำเป็นต้องลดปริมาณไขมันลง แต่จำเป็นต้องคำนวณปริมาณไขมันให้พอดีกับความต้องการของสัตว์ โดยอาจจะต้องเพิ่มวัตถุดิบที่มีโปรตีนให้อยู่ในระดับมาตรฐาน

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

โครงการวิจัยเชิงประยุกต์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของบ่อดักไขมันบริวเณรอบทะเลสาบสงขลาตอนกลางและตอนล่าง