การพัฒนาการผลิตไก่เบตง ในเชิงพาณิชย์ของเกษตรกร ในอำเภอ คลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

ครวญ บัวคีรี, มงคล เทพรัตน์, ธัญจิรา เทพรัตน์

สำนักพิมพ์: 

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

ปีที่พิมพ์: 

2558

เลขหมู่: 

ว.636.5 ค17ค

รายละเอียด: 

การพัฒนาการผลิตไก่เบตง ในเชิงพาณิชย์ของเกษตรกร ในอำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา ได้ออกแบบการศึกษา ออกเป็น 2 การศึกษา ประกอบด้วย การศึกษาที่ 1การทดสอบการเลี้ยงไก่เบตงในหมู่บ้าน และการศึกษาที่ 2 การศึกษาความต้องการตลาดของไก่เบตง เป็นดังนี้ การศึกษาที่1 การทดสอบการเลี้ยงไก่เบตงในหมู่บ้าน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบความเป็นไปได้ของการเลี้ยงไก่เบตงในหมู่บ้านเพื่อเป็นอาชีพ โดยทำการศึกษาเปรียบเทียบการเลี้ยงไก่เบตงของเกษตรในหมู่บ้าน (พื้นที่ อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา) กับการเลี้ยงไก่เบตงในสภาพการจัดการอย่างดี (ฟาร์มคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา) โดยมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 7 ราย แต่ละรายเลี้ยงไก่เบตงอายุ 1 สัปดาห์ จำนวน 30 ตัว ไก่จะได้รับอาหารสำเร็จรูปทางการค้าระดับโปรตีน 21 เปอร์เซ็นต์ โดยให้กินแบบเต็มที่มีอาหารและน้ำให้กินตลอดเวลา สำหรับการเลี้ยงไก่เบตงในสภาพการจัดการอย่างดี เลี้ยงในโรงเรือนระบบเปิด คอกทดลองขนาด 3*3 เมตร จำนวน 5 คอก โดยแต่ละคอกมีจำนวนไก่คอกละ 20 ตัว ได้รับอาหารเช่นเดียวกันของเกษตรกร พบว่า น้ำหนักสุดท้าย อัตราการเจริญเติบโต ปริมาณอาหารที่กินและ ประสิทธิภาพการใช้อาหาร การผลิตของไก่เบตงที่เลี้ยงในสภาพเกษตรกรมีค่าเฉลี่ย ต่ำกว่าการเลี้ยงในสภาพการเลี้ยงที่มีการจัดการอย่างดี ในทุกช่วงอายุของการเลี้ยง (7-60, 60-120 และ 7-120 วัน) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ไก่ที่เลี้ยงในสภาพเกษตรกรยังมีสมรรถภาพการผลิตไม่เต็มศักยภาพ การส่งเสริมเกษตรกรเลี้ยงไก่ควรให้ความรู้การจัดการ การให้อาหารในระยะต่างๆเพื่อลดการสูญเสียในส่วนดังกล่าว จะช่วยให้ผลตอบแทนในการเลี้ยงสูงขึ้น และมีความยั่งยืน การศึกษาที่ 2 การศึกษาความต้องการตลาดของไก่เบตง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการตลาดของไก่เบตงในจังหวัดสงขลา โดยศึกษาในตลาดข้าวมันไก่ เลือกพื้นที่ศึกษาในเขต อำเภอเมือง และอำเภอหาดใหญ่โดยใช้แบบทดสอบ ผู้ที่เกี่ยวข้อง 2 กลุ่ม คือ 1)ผู้บริโภคข้าวมันไก่ และ 2) ผู้จำหน่ายข้าวมันไก่ จำนวน 200 และ 20 ชุด ตามลำดับ ผลการศึกษา ผู้ตอบแบบสัมภาษณ์ของผู้บริโภคมีสัดส่วนเพศชายและเพศหญิง (57.75 และ 42.25) ตามลำดับ ใกล้เคียงกัน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ (74.81%) และการศึกษา อยู่ในระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า (41.85 %) และมีรายได้เฉลี่ย 10182.54 บาท/เดือน การตัดสินใจเลือกซื้อข้าวมันไก่ผู้บริโภคให้ความสำคัญ กับรสชาติ/ความอร่อยของข้าวมันไก่ (92.96%) มากเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมา คือความสะอาด (59.15%) ความน่ารับประทาน (57.04%) และความมีชื่อเสียง (40.85 %) ตามลำดับ และไม่รู้จักไก่เบตง (46.74 %) ในสัดส่วนที่ค่อนข้างสูง และยอมรับได้หากข้าวมันไก่ใช้ไก่เบตงในการประกอบอาการในช่วง 10-20 % ผู้ตอบแบบสัมภาษณ์ผู้ขายข้าวมันไก่ มีสัดส่วน เพศหญิง และเพศชายเท่ากัน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ (91.67 %) การศึกษาในระดับมัธยมศึกษาเป็นส่วนใหญ่ (66.67 %) ประกอบอาชีพขายข้าวมันไก่เฉลี่ย22.50 ±16.31 ปี ใช้แรงงานในร้านเฉลี่ย 4.00±0.83 คน และมีรายได้เฉลี่ย 38750±10028.37 บาท/เดือน ไก่ที่นำมาใช้ในการทำผลิตภัณฑ์ข้าวมันไก่นั้น ส่วนใหญ่ผู้ประกอบธุรกิจจะใช้ไก่พื้นเมือง (50 %) นำมาทำข้าวมันไก่ รองลงมาเป็นไก่เนื้อ (33.33 %) และมีบางส่วนที่ใช้ไก่ทั้งสองชนิดมาทำข้าวมันไก่ (16.67 %) โดยน้ำหนักของไก่ที่ต้องการ เฉลี่ย 2.79 ±0.26 กิโลกรัม ปริมาณความต้องการต่อร้านเฉลี่ย 9.10±3.15 ตัว/วัน (ตารางที่6) และมีบางส่วนยังไม่รู้จักไก่เบตง (25 %) และคิดว่าถ้าหากนำไก่เบตงมาทำข้าวมันไก่ คิดว่าลูกค้ามีความต้องการซื้ออย่างแน่นอน โดยมีความเห็นว่า ราคาไก่เบตงที่ชำแหละ ที่เหมาะสม 1.33.33±5.37 บาท/กิโลกรัม

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การพัฒนาการผลิตไก่เบตง ในเชิงพาณิชย์ของเกษตรกร ในอำเภอ คลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา