ประสิทธิภาพของสารสกัดจากใบสาบเสือและใบเสม็ดขาวในการกำจัดปลวกกินเนื้อไม้วรรณะปลวกงาน (The Efficiency of Extract Leaves from Eupatorium odoratum L. and Melaleuca quinquenervia for Elimination Wood Feeding Termite)

ประเภท: 

โครงงานนักศึกษา

ผู้แต่ง: 

สุธิตา แปะโพระ, อารียา ยามาเจริญ

สำนักพิมพ์: 

โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2560

เลขหมู่: 

628.965 ส44ป

รายละเอียด: 

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดสารจากใบสาบเสือและใบเสม็ดขาวแห้งด้วยเอทานอลร้อยละ 95 และประสิทธิภาพของสารสกัดในการกำจัดปลวกกินเนื้อไม้ (วรรณะปลวกงาน) ผ่านการกินกระดาษลูกฟูก ที่ฉีดพ่นสารสกัด 3 สูตร คือสูตรใบสาบเสือ สูตรใบเสม็ดขาว และสูตรใบสาบเสือผสมใบเสม็ดขาว (1:1) ความเข้มข้นร้อยละ 1.0 0.5 10.0 15.0 และ 20.0 โดยปริมาตร ระยะเวลาการออกฤทธิ์ 24 48 และ96 ชั่วโมง โดยพิจารณาจากอัตราการตายของปลวก ผลการศึกษาพบว่าที่ระยะเวลาในการสกัด 1-9 ให้ร้อยละผลิตภัณฑ์สูงสุดมีค่า 27.28 และ 48.39 ตามลำดับ และเมื่อทดสอบประสิทธิภาพในการกำจัดปลวกกินเนื้อไม้ของสารสกัด พบว่าเมื่อปลวกกินกระดาษลูกฟูกที่ฉีดพ่นสารสกัดทุกสูตรจะมีอัตราการตายที่แท้จริงสัมพันธ์โดยตรงกับความเข้มข้นในช่วงที่ทดสอบโดยที่ระยะเวลาการออกฤทธิ์ที่ 96 ชั่วโมง สารสกัดสูตรใบสาบเสือผสมใบเสม็ดขาว (1:1) มีประสิทธิภาพในการกำจัดปลวกสูงสุดมีค่าเฉลี่ยร้อยละอัตราการตายที่แท้จริง (อัตราการตายสะสม)เท่ากับ 100.00 (100.00 ตัว) LC₅₀ ร้อยละ 0.05 รองลงมาเป็นสูตรใบเสม็ดขาวและใบสาบเสือมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 85.25 (86.33±0.47 ตัว) LC₅₀ ร้อยละ 3.63 และ 67.63 (70.00±0.82 ตัว) LC₅₀ ร้อยละ 8.71 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบอัตราการตายแท้จริงของปลวกจากการใช้สารสกัดทั้ง 3 สูตร ด้วยสถิติแบบ t-test พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับร้อยละ 95 สำหรับต้นทุนการผลิตเบื้องต้นของสารสกัด พบว่าสารสกัดสูตรใบสาบเสือมีต้นทุนการผลิตสูงสุด 4.72 บาท/มิลลิลิตร รองลงมาเป็นสูตรผสม และสูตรใบเสม็ดขาว 2.43 และ 1.62 บาท/มิลลิลิตรตามลำดับ

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ประสิทธิภาพของสารสกัดจากใบสาบเสือและใบเสม็ดขาวในการกำจัดปลวกกินเนื้อไม้วรรณะปลวกงาน