การศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตแผ่นอัดจากกาบมะพร้าวและหญ้าแฝก (Feasibility Study of Compaction the Coir and Vetiver Grass)

ประเภท: 

โครงงานนักศึกษา

ผู้แต่ง: 

กรองกาญจน์ หลีหมัด, พัชรีมาศ ลาเต๊ะ

สำนักพิมพ์: 

สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2561

เลขหมู่: 

674.834 ก17ก

รายละเอียด: 

งานวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษาสมบัติของแผ่นอัดจากกาบมะพร้าวและหญ้าแฝก ที่ผลิตจากเปลือกของมะพร้าวและหญ้าแฝก โดยศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสม 3 อัตราส่วน โดยใช้อัตราส่วนระหว่าวัสดุประสาน (กาวลาเท็กซ์) ต่อเส้นใย (กาบมะพร้าวและหญ้าแฝก) ได้แก่ 50:50,60:40 และ 70 :30 ใช้อัตราส่วนละ 3 สูตร คือ สูตรที่1 ผสม (กาบมะพร้าวและหญ้าแฝก) สูตรที่2 กาบมะพร้าว และสูตรที่3 หญ้าแฝก อัดขึ้นรูปด้วยเครื่องอัดไฮโดรลิค ที่อุณหภูมิ 150 องศาเซลเซียส โดยทำการอัดร้อน เป็นเวลา 15 นาที และอบหลังการขึ้นรูปที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากผลการศึกษาพบว่า เมื่อเพิ่มสัดส่วนของเส้นใยและลดสัดส่วนของวัสดุประสานทำให้แผ่นอัดมีความหนาแน่นสูง ส่งผลให้ร้อยละปริมาณความชื้นและการพองตัวตามความหนามีแนวโน้มสูงขึ้นและเมื่อลดสัดส่วนของเส้นใยและเพิ่มสัดส่วนของวัสดุประสานทำให้แผ่นอัดมีความหนาแน่นต่ำ ส่งผลให้ร้อยละปริมาณความชื้นและการพองตัวตามความหนามีแนวโน้มลดลง ส่วนสมบัติเชิงกล ความต้านแรงดัน มอดุลัสยืดหยุ่น และความต้านแรงดึงตั้งขนานกับผิวหน้า พบว่า ความหนาแน่นที่สูงขึ้นมีผลทำให้ความแข็งแรงของแป่นอัดสูงขึ้นด้วย ในการศึกษาครั้งนี้แผ่นอัดที่มีความเหมาะสมและมีความแข็งแรงที่สุด คือ แผ่นอัดสูตรที่1 ผสม (กาบมะพร้าวและหญ้าแฝก) อัตราส่วนวัสดุประสาน 60 ต่อ เส้นใย 40 (ร้อยละโดยน้ำหนัก) มีค่าความหนาแน่น คือ 451.20 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และค่าปริมาณความชื้น คือ ร้อยละ 4.57 ซึ่งมีค่าผ่านเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแผ่นชิ้นไม้อัดชนิดอัดราบ (มอก.876-2547)

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตแผ่นอัดจากกาบมะพร้าวและหญ้าแฝก