การสร้างเครื่องกลั่นน้ำส้มสายชูหมักจากน้ำตาลโตนด (Construction of The Sugar Palm Vinegar Distilled Machine)

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

ลัญฉกร นิลทรัตน์, กุลยุทธ บุญเซ่ง

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2559

เลขหมู่: 

ว.621.18 ล113ก

รายละเอียด: 

การออกแบบและสร้างเครื่องต้นแบบกลั่นน้ำส้มสายชูตาลโตนดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยใช้พลังงานไฟฟ้าให้ความร้อนด้วยฮีสเตอร์น้ำส้มตามโตนดในถังต้ม ระเหยกลายเป็นไอควบแน่นเป็นหยดน้ำส้มสายชูตาลโตนด มีโครงสร้างเครื่องแบ่งเป็น 4 ส่วน คือ 1. ชุดหม้อต้มมีฮีสเตอร์เป็นตัวให้ความร้อน 2. ท่อทางเดินไอระเหย 3. ชุดควบแน่น 4. ชุดระบายความร้อนทดลอง นำน้ำส้มสายชูตาลโตนดจากการหมักเป็นน้ำส้มตามโตนดที่ได้จากน้ำล้างกะทะที่เหลือจากการเคี้ยวเป็นน้ำผึ้งตาลโตนด ผลการทดลองกลั่นน้ำ ปริมาตร 3 ลิตร 5 ลิตร และ 10 ลิตร เวลากลั่น 70 นาที 110 นาที และ 230 นาที ตามลำดับ พบว่าการกลั่น 3 ลิตร ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด มีอัตราการกลั่นเฉลี่ย 42 มิลลิลิตรต่อนาที มีอุณหภูมิในการกลั่นเฉลี่ย 104.15 องศาเซลเซียส อุณหภูมิของถังควบแน่นมีค่าเฉลี่ย 33.85 องศาเซลเซียส มีอุณหภูมิของน้ำในถังควบแน่นอยู่ในช่วง 30-36 องศาเซวเซียส ค่าความดันต่ำกว่า 1 บาร์ การทดลองการกลั่น ปริมาตร 10 ลิตร ผลการทดลองพบว่า ปริมาตรจากการควบแน่นที่ดีที่สุดอยู่ที่ 32 องศาเซลเซียส ปริมาตรน้ำส้มสายชูตาลโตนดที่กลั่นได้ 600 มิลลิลิตร ผลการตรวจปริมาณค่ากรดอะซิติกในน้ำส้มสายชูตาลโตนดที่กลั่นแล้วมีค่า 4.6 กรัม/100 มิลลิกรัม ผ่านเกณฑ์ค่ามาตรฐานของมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ระยะเวลาคืนทุนของเครื่องกลั่นน้ำส้มสายชูตาลโตนด ใช้วัตถุดิบ 906 ลิตร และราคาน้ำส้มสายชูหมักตาลโตนดที่ใช้ในการกลั่น 70 บาท/ลิตร ระยะเวลาที่สามารถคืนทุนได้ คือ 332 ชั่วโมง โดยการกลั่น 8 ชั่วโมงต่อวันซึ่งจะทำงาน 41.5 วัน จะถึงจุดคุ้มทุน

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การสร้างเครื่องต้นแบบสำหรับกลั่นน้ำส้มสายชูหมักจากน้ำตาลโตนด