การดูดซับตะกั่วและแคดเมียมทางชีวภาพโดย Anabaena sp. ในน้ำทิ้งศูนย์วิทยาศาสตร์ มาหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

ปริญญา ทับเที่ยง, สอแหละ บางูสัน, ฤทัยทิพ อโนมุณี

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2555

เลขหมู่: 

ว.363.7394 ป17ก

รายละเอียด: 

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการดูดซับตะกั่วและแคดเมียม จากน้้าทิ้ง ศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา โดยใช้สาหร่าย Anabaena sp. โดยศึกษาลักษณะทาง กายภาพ และเคมีของน้้าทิ้ง ได้แก่ ความขุ่น อุณหภูมิ ค่าการน้าไฟฟ้า ค่าความเป็นกรดด่าง บีโอดี ซี โอดีค่าปริมาณของแข็งที่ละลายน้้า (TSS) ปริมาณตะกั่ว และปริมาณแคดเมียม พบว่าในน้้าทิ้งศูนย์ วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มีค่าเท่ากับ 12.8+0.40 NTU 29.16+0.28 องศาเซลเซียส 501+31 mS/cm 7.24+0.01 (พีเอช) 120+60 มิลลิกรัมต่อลิตร 256+32 มิลลิกรัมต่อลิตร 0.75+0.16 มิลลิกรัมต่อลิตร 0.0083+0.0010 มิลลิกรัมต่อลิตร และ 0.0032+0.0004 มิลลิกรัมต่อ ลิตร ตามล้าดับ ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงสาหร่าย ได้แก่สูตรอาหาร ค่าความเป็นกรด-ด่าง อุณหภูมิ ความเข้มแสง และระยะเวลา ผลการศึกษา พบว่าสูตรสูตรอาหาร ค่าความเป็นกรด-ด่าง อุณหภูมิ ความเข้มแสง และระยะเวลาที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของสาหร่าย คือ BG-11 7.0 30 องศาเซลเซียส 3,000 ลักซ์ และ 15 วัน ตามล้าดับ ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมต่อการดูดซับโลหะหนัก ได้แก่ความเป็นกรด-ด่าง ระยะเวลาการดูดซับ และปริมาณสาหร่าย ผลการศึกษา พบว่า ความเป็น กรดด่าง ระยะเวลา และปริมาณสาหร่ายที่เหมาะสมต่อการดูดซับตะกั่ว คือ 5.0 150 นาทีและ 0.1 กรัม ตามล้าดับ ส้าหรับแคดเมียม คือ 5.0 90 นาทีและ 0.1 กรัม ตามล้าดับ เมื่อน้าสภาวะที่ เหมาะสมมาหาค่าความสามารถสูงสุดในการดูดซับตะกั่ว และแคดเมียม ตามสมการการดูดซับของ แลงค์เมียร์ และฟรุนดิช พบว่า ไอโซเทอมของการดูดซับตะกั่ว และแคดเมียมสอดคล้องกับสมการของ แลงค์เมียร์ที่ R 2 เท่ากับ 0.9827 และ 0.6047 ค่าความสามารถดูดซับตะกั่ว และแคดเมียมได้สูงสุด เท่ากับ 28.60 และ 25.76 มิลลิกรัมต่อกรัม ตามล้าดับ และจากการทดลองน้าสาหร่ายมาก้าจัดตะกั่ว และแคดเมียมในน้้าทิ้ง พบว่า สามารถลดปริมาณตะกั่ว และแคดเมียมในน้้าทิ้งศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาได้ 0.0074 และ 0.0031 มิลลิกรัมต่อลิตร คิดเป็นร้อยละ 83.18 และ 78.81

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การดูดซับตะกั่วและแคดเมียมทางชีวภาพโดย Anabaena sp. ในน้ำทิ้งศูนย์วิทยาศาสตร์ มาหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา