ประเภท: |
งานวิจัย |
|
ผู้แต่ง: |
ขวัญดาว ปิ่นทองพันธุ์ |
|
สำนักพิมพ์: |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
|
ปีที่พิมพ์: |
2561 |
|
เลขหมู่: |
ว.333.72 ข17พ |
|
รายละเอียด: |
ศึกษาเรื่องพัฒนาการและรูปแบบการจัดการทรัพยากรของชุมชนบ้านท่าคุระและชุมชนบ้านคลองรี อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษาพัฒนาการของการจัดการทรัพยากรของชุมชนบ้านคลองรีและชุมชนบ้านท่าคุระ ช่วงปีพ.ศ.2518 -2556และศึกษารูปแบบการจัดการทรัพยากรระหว่างชุมชนบ้านคลองรีและชุมชนบ้านท่าคุระ และหาจุดแข็งจุดอ่อน โอกาส อุปสรรค ของทั้งสองชุมชนในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลสาบสงขลา(ตอนกลาง) ของชุมชนทั้งสองนี้โดยศึกษาแบ่งออกเป็นสองช่วงเวลาคือศึกษาการใช้ประโยชน์และรูปแบบในการจัดการทรัพยากรและรูปแบบที่ใช้ในการวางแผนแก้ปัญหาและพัฒนาที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจในพื้นที่ เพื่อนำรูปแบบของการจัดการทรัพยากรแบบพหุภาคีนำไปประยุกต์ใช้และแก้ไขปัญหาในพื้นที่ และเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาการจัดการทรัพยากรที่เหมาะสม การศึกษาครั้งนี้ได้ใช้แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน การจัดการทรัพยากร โดยนำ เครื่องมือSWOTมาใช้ในการวิเคราะห์เพื่อหาจุดแข็งจุดอ่อน ปัญหาอุปสรรค และโอกาส ของพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลสาบสงขลาและนำแนวคิดการจัดการอย่างมีส่วนร่วมมาใช้ในการแก้ไขปัญหาเพื่อให้เกิดความยั่งยืนและสอดคล้องกับพื้นที่ ผลการศึกษาพบว่า ประการแรก พัฒนาการด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติทั้งสองช่วงเวลามีการจัดการทรัพยากรทั้งสองชุมชนมีความเหมือนกัน โดยแบ่งเป็นสองยุค โดยการจัดการทรัพยากรพบว่าทั้งสองยุคมีความแตกต่างดังนี้ 1) ยุคแห่งการพัฒนาพิงพึ่งทรัพยากรธรรมชาติ :ก่อนการประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลสาบสงขลา ชาวบ้านสามารถเข้าถึงทรัพยากรโดยไม่มีกฎระเบียบแบบลายลักษณ์อักษร ไม่มีโครงสร้างที่ตายตัวมีแต่เพียงด้านความเชื่อในสิ่งศักดิ์ที่ชาวบ้านเคารพนับถือ ทำให้ชาวบ้านทั้งสองชุมชนได้เคารพกฎกติกาควบคุมดูแลกันเอง ซึ่งเป็นวิถีการจัดการด้วยชาวบ้าน 2) ยุคแห่งการพัฒนา หลังการประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลสาบสงขลา (2519) เกิดรูปแบบการจัดการทรัพยากรในลักษณะที่ตายตัว โดยทางรัฐออกตัวบทกฎหมายเข้ามาจัดการดูแลพื้นที่ มีการบังคับใช้นโยบายและมาตรการการอนุรักษ์อย่างต่อเนื่อง แต่ขณะเดียวกันวิธีการจัดการโดยภาครัฐนั้นมีหน่วยงานต่างๆที่ดูแลในพื้นที่เดียวกัน ได้ส่งผลให้เกิดปัญหาในเรื่องกันจัดการที่ทับซ้อน ประการที่สอง การใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในเขตพื้นที่ก่อนการประกาศชาวบ้านสามารถเข้าถึงทรัพยากรใช้ประโยชน์จากทรัพยากรได้อย่างอิสระ แต่เมื่อทางรัฐประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าชาวบ้านได้ถูกกำจัดสิทธิในการเข้าถึงทรัพยากร ประการสุดท้าย พบว่าเมื่อใช้เครื่องมือ SWOTวิเคราะห์ปัจจัยภายใน ด้านจุดแข็งของพื้นที่ทะเลสาบสงขลาปรากฏนกนานาพันธุ์ชนิดที่อพยพมาจากไซบีเรียนมีความอุดมสมบูรณ์ทางพื้นที่สูง จุดอ่อน คือ การจัดการที่ทับซ้อนในพื้นที่เดียวกัน ปัจจัยภายนอกด้านโอกาส ภายนอกมีการใช้สถานที่เป็นแหล่งศึกษาข้อมูลทางธรรมชาติเช่นค่ายอนุรักษ์ อุปสรรคที่ขัดขวางจากภายนอกเป็นแหล่งรองรับน้ำเสียจากชุมชน การจัดการเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้านการจัดการทรัพยากรโดยใช้รูปแบบพหุภาคีก่อให้เกิดความยั่งยืนแก่ทรัพยากรตลอดจนด้านสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของชุมชนทั้งสองได้ |
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
พัฒนาการและรูปแบบการจัดการทรัพยากรของชุมชนบ้านท่าคุระและชุมชนบ้านคลองรี อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา |
|