การปลูกและขยายพันธ์พืชน้ำกลุ่มคริปโตคอรีน (Cultivation and Propagation of Cryptocoryne)

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

สบาย ตันไทย, รัชฎา เศรษฐวงศ์สิน, จักรกริช อนันตศรัณย์, พงษ์ศักดิ์ มานสุริวงศ์

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2558

เลขหมู่: 

รายละเอียด: 

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญเพื่อศึกษาวิธีการปลูก และขยายพันธุ์พืชน้ำกลุ่มคริปโตคอรีน (คริป) ประกอบด้วย 3 การทดลองหลักดังนี้ การทดลองที่ 1 ผลการศึกษาพบว่า C. tonkinensis(ผมหอม) มีน้ำหนักเฉลี่ยสูงสุดในอาหาร MS ที่มี BA 2 มิลลิกรัมต่อลิตร และ NAA 0.50 มิลลิกรัมต่อลิตร ไม่แตกต่างทางสถิติ (P>0.05) กับอาหารที่มี BA 2 มิลลิกรัมต่อลิตร และ NAA 0.25 มิลลิกรัมต่อลิตร ส่วน C. blassii (บอนแดงพบว่าควรเพิ่มจำนวนบอนแดงในอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ MS ที่มี BA 1มิลลิกรัมต่อลิตร แม้จะไม่ใช่สูตรที่ถูกชักนำให้มีจำนวนใบสูงสุด แต่มีจำนวนราก และ ความยาวรากเฉลี่ยสูงสุด ไม่แตกต่างทางสถิติ (P>0.05) กับอาหาร MS ที่ปราศจากสารควบคุมการเจริญเติบโต และ อาหาร MSที่มี BA 2 มิลลิกรัมต่อลิตร และ NAA 0.25 มิลลิกรัมต่อลิตร สำหรับC. albida (คริปอัลบิด้า) พบว่าอาหาร MSที่มี BA 4 มิลลิกรัมต่อลิตร ให้จำนวนยอด จำนวนต้น และจำนวนรากเฉลี่ยสูงสุดไม่แตกต่างทางสถิติ (P>0.05) กับอาหาร MS ที่มี BA 3 มิลลิกรัมต่อลิตร ผลการศึกษาครั้งนี้ยังพบว่าอาหาร MSที่น้ำมะพร้าว 125 มิลลิกรัมต่อลิตร ทำให้เนื้อเยื่อคริปพัฒนาเป็นต้นอ่อนได้แม้จะไม่ดีที่สุดแต่น่าจะเป็นทางเลือกสำหรับการผลิตที่ต้องการลดต้นทุน หรือต้องการสร้างความแตกต่าง เพราะมีสีสันเข้มกว่าชุดการทดลองอื่น ๆ การทดลองที่ 2 ผลการปลูกใบพายศรีลังกาในระบบไฮโดรโปนิกส์เทคนิค DFTพบว่าสามารถใช้วัสดุปลูกฟองน้ำทดแทนใยหินได้ โดยใช้ความเข้มข้นของปุ๋ยที่ระดับต่ำมากคือที่ระดับค่า EC 0.5mS/cm ส่วนการปลูกแบบดั้งเดิมพบว่าดินเหนียวปนทรายเป็นวัสดุปลูกที่เหมาะสมที่สุด ให้น้ำหนัก ความสูง จำนวนใบ และจำนวนรากเฉลี่ยสูงสุดแตกต่างทางสถิติ (P<0.05)กับทุกชุดการทดลอง ผลการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนพบว่าการปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์ สามารถคืนทุนได้เร็วกว่าการปลูกแบบดั้งเดิมเล็กน้อยคือ 3.21 และ 3.93 ปีตามลำดับ มีต้นทุนผันแปรต่อต้นเท่ากับ 3.22 และ 3.33 บาท การทดลองที่ 3 การชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์โดยใช้รังสีแกมมา พบว่าปริมาณรังสีแกมมาที่ทำให้ต้นอ่อนใบพายศรีลังกาตาย 50% (LD50) คือ 34.09 เกรย์ และที่ระดับ 15 เกรย์ ทำให้ให้ใบพายศรีลังกาเปลี่ยนแปลงทางสัณฐานวิทยาคือมีใบเล็ก เรียวยาว สีน้ำตาลอมแดง ขอบใบเรียบ โดยเกิดขึ้นเพียง 2 ซ้ำจากการศึกษา 20 ซ้ำ แต่เมื่อนำไปปลูกเลี้ยงในสภาพแวดล้อมภายนอกแบบใต้น้ำในโรงเรือนเป็นเวลา 2 เดือนพบว่ารูปร่างใบของทุกชุดการทดลองเป็นปกติไม่มีการแสดงลักษณะการกลายพันธุ์ การศึกษาครั้งนี้ พบว่า พืชน้ำกลุ่มคริปโตคอรีนตอบสนองต่ออาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อได้ดีเจริญเติบโตในระบบไฮโดรโปนิกส์ได้โดยใช้ปุ๋ยน้อย และใช้วัสดุปลูกที่มีราคาต่ำ จึงสามารถเพิ่มจำนวนการผลิต รวมทั้งควบคุมผลผลิตให้มีปริมาณและคุณภาพตามความต้องการของตลาดหรือมาตรฐานสากล นั่นคือสามารถผลิตพืชน้ำกลุ่มคริปโตคอรีนในเชิงพาณิชย์ได้นั่นเอง

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การปลูกและขยายพันธ์พืชน้ำกลุ่มคริปโตคอรีน