ดาระ: การแสดงในวิถีชีวิตชาวมุสลิม บ้านควนโดน (Dara: A Performing Arts in the Way of Islamite at Khuan Don Village)
|
ประเภท: |
งานวิจัย |
ผู้แต่ง: |
รัชวิช มุสิการุณ |
สำนักพิมพ์: |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
ปีที่พิมพ์: |
2558 |
เลขหมู่: |
|
รายละเอียด: |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทของการแสดงดาระในวิถีชีวิตชาวมุสลิม ตลอดจนศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างนาฏยศิลป์ สังคีตศิลป์ และวรรณศิลป์ ที่ปรากฏในการแสดงดาระ ซึ่งเป็นการแสดงพื้นเมืองของชาวไทยมุสลิมจังหวัดสตูล ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพใช้เทคนิคการสัมภาษณ์แบบทางการทางการและกึ่งทางการ ตลอดจนการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม
ผลการวิจัยพบว่า บริบทของการแสดงดาระมีความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของผู้คนในสังคมมุสลิม ทั้งในพิธีกรรมความเชื่อและเพื่อความบันเทิง เป็นการแสดงที่เก่าแก่ของชุมชุนผู้นับถือศาสนาอิสลามในจังหวัดสตูล โดยในปัจจุบันเหลือคณะนักแสดงดาระเพียงคณะเดียว คือ คณะนักเรียนโรงเรียนควนโดนวิทยา ซึ่งเป็นลักษณะการรวมกลุ่มเพื่อการอนุรักษ์และสืบสานมรดกทางการแสดงดาระให้คงอยู่มากกว่าเพื่อยึดเป็นอาชีพ นอกจากนี้การวิจัยพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างนาฏยศิลป์ สังคีตศิลป์ และวรรณศิลป์ ที่ปรากฏในการแสดงดาระ เป็นตัวแทนของรูปแบบการแสดงประเภท "ร้อง รำ ทำเพลง" ได้อย่างดี เนื่องจากศึกษาพบอัตลักษณ์เฉพาะทางการแสดงดาระ ประกอบด้วยองค์ประสานที่มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน 3 ส่วน ได้แก่ นักร้อง นักรำ และ นักดนตรี โดยศิลปะการขับร้องจะเป็นผู้นำในการแสดง กล่าวคือ ผู้ขับร้องจะเป็นผู้ดำเนินบทเพลงเพื่อกำหนดท่าร่ายรำของนาฏศิลป์ และกำหนดทิศทางกระสวนทำนองกลองของนักดนตรีไปพร้อมกัน ทั้งนี้ อาจกล่าวได้ว่าการขับร้องเป็นหัวใจหลักของการแสดงดาระนั่นเอง ผู้ขับร้องจะเป็นผู้กำหนดการแสดง โดยนักดนตรีและนาฏศิลป์จะต้องบรรเลงและร่ายรำ ประกอบการขับร้องนั้นตามบทบาทต่าง ๆ ที่ผู้ขับร้องกำหนด ดาระจึงเป็นเสมือนรากเริ่มและรากร่วมวัฒนธรรมดนตรีและการแสดงของชุมชนมุสลิมโบราณที่ใช้เครื่องดนตรีประกอบน้อยชิ้น อาศัยการขับร้องด้วยถ้อยคำอันงดงามเป็นการดำเนินเนื้อความ ใช้เพียงเสียงกลองในการเชื่อมโยงนาฏศิลป์เข้ากันเป็นหนึ่งเดียว โดยมีการกระชับความสัมพันธ์ของผู้คนในชุมชนด้วยการร่วมร้องร่วมแสดงและร่วมชม สะท้อนความเป็นเครือญาติทางวัฒนธรรมที่เข็มแข็งได้อย่างลึกซึ้งและชาญฉลาดในวิถีชีวิตชาวมุสลิมแต่ครั้งบรรพกาล
จากการศึกษาข้อมูลในภาคสนาม พบบทเพลงดาระที่มีผู้รวบร่วมไว้จำนวน 39 เพลง ทั้งหมดได้จำบันทึกไว้เพียงเนื้อร้องและท่ารำ โดยไม่มีทำนองขับร้องและทำนองกลอง มีเพียง 5 บทเพลงที่อนุรักษ์ไว้และใช้แสดงอยู่ในปัจจุบันโดยอาจารย์สมศรี ชอบกิจและคณะนักเรียนโรงเรียนควนโดนวิทยา ซึ่งได้รับการถ่ายทอดจากนายทอง มาลินี ศิลปินดาระคนสุดท้าย จากข้อมูลที่กล่าวมา แสดงถึงสถานการณ์ของบทเพลงดาระที่กำลังสูญหายไป ถึงแม้ว่านักวิชาการหรือวิทยากรในท้องถิ่นจะพยายามฟื้นฟูและอนุรักษ์การแสดงดาระอย่างเต็มกำลัง งานวิจัยครั้งนี้จึงมีประโยชน์อย่างยิ่งในการศึกษาการแสดงดาระตลอดจนบทเพลงที่ใช้ประกอบการแสดงดาระ เพื่อใช้เป็นตัวอย่าง ในการศึกษาและทำความเข้าใจการแสดงดาระและบทเพลงดาระอื่น ๆ ได้ในโอกาสต่อไป หรือนำความรู้เกี่ยวการแสดงดาระที่ได้ศึกษามานี้ไปพัฒนาขึ้นเพื่อใช้เรียบเรียงหรือประพันธ์บทเพลงและท่ารำในการแสดงดาระขึ้นใหม่ เป็นต้น |
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
ดาระ: การแสดงในวิถีชีวิตชาวมุสลิม บ้านควนโดน
|
|
|