วิทยาศาสตร์บูรณาการกับภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสุขภาพและชุมชนในการศึกษากระบวนการทำข้าวซ้อมมือโดยอาศัยสมบัติเชิงฟิสิกส์ (Integrated Science and Local Wisdom for Health and Community in the Study of Process of Coarse Rice Product by Used Physical Properties)

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

อนุมัติ เดชนะ

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2557

เลขหมู่: 

รายละเอียด: 

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการของภูมิปัญญาชาวบ้านในการทำข้าวซ้อมมือ คู่ขนานกับสมบัติเชิงฟิสิกส์ เพื่อให้ได้แนวทางในการสร้างและพัฒนาเครื่องมือหรือเครื่องกะเทาะเปลือกข้าวโดยผสมผสานระหว่าง ภูมิปัญญาชาวบ้านกับองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพื่อผลผลิตข้าวซ้อมมือที่มีประสิทธิภาพที่ดี ผลการวิจัยการศึกษาองค์ประกอบของเครื่องสีข้าวโดยทั่วไปจะประกอบด้วยชิ้นอุปกรณ์หลักๆ 3 ส่วนคือ 1) มือจับและคานโยก 2) แป้นบดตัวบนพร้อมถาดรับใส่ข้าวเปลือกที่จะสี 3) แป้นบดตัวล่างรอบๆเป็นถาดรับข้าวเปลือกที่ผ่านการสีแล้วสำหรับปัจจัยที่สำคัญที่มีผลต่อการสีข้าวกล้องสังข์หยดที่ได้เมล็ดข้าวสมบูรณ์ที่สุด 72-76% ขึ้นอยู่กับรูปแบบของฟันสีของครกบดที่ทำมุม 41-42 องศา ที่ความชื้น -2.14 %MC และน้ำหนักในการกดทับครกบดส่วนที่หมุนเฉลี่ย 27.8 kg นอกจากนี้ยังพบว่าจำนวนครั้งที่เหมาะสมที่สุดในการสีมีค่าไม่เกิน 2 ครั้งต่อเนื่องกัน ที่ความถี่ในการหมุนของครกบดเท่ากับ 1 รอบต่อวินาที สามารถนำไปออกแบบครกสีที่ผสมผสานระหว่างแบบดั้งเดิมกับแบบสมัยใหม่ได้เป็นอย่างดี

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

วิทยาศาสตร์บูรณาการกับภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสุขภาพและชุมชนในการศึกษากระบวนการทำข้าวซ้อมมือโดยอาศัยสมบัติเชิงฟิสิกส์