ประเภท:
งานวิจัย
ผู้แต่ง:
สุเพ็ญ ด้วงทอง, พงษ์ศักดิ์ มานสุริวงศ์, อมรรัตน์ ชุมทอง, อดิศรา ตันตสุทธิกุล, เธียรชัย พันธ์คง, พรัตน์ วงศ์หิรัญเดชา, วรพัฒน์ สายสิญจน์
สำนักพิมพ์:
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
ปีที่พิมพ์:
2556
เลขหมู่:
รายละเอียด:
ข้าวเหนียวดำเป็นข้าวที่นิยมบริโภคและให้คุณค่าทางอาหารมากมาย เรียกตามภาษาพื้นเมืองของทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือว่า ข้าวก่ำ สำหรับภาคใต้นิยมเรียกว่า ข้าวเหนียวดำ มีแอนโทไซยานินซึ่งมีคุณสมบัติในการต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน การส่งเสริมการปลูกข้าวเหนียวดำ พบว่ามีความสำคัญอย่างสูงในแงเพิ่มมูลค่าทางโภชนาการ และการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การตลาดรวมทั้งการปรับปรุงคุณภาพและการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ให้กว้างขวางเพื่อเพิ่มมูลค่าของข้าวให้สูงขึ้น เกษตรกรส่วนใหญ่ ในภาคใต้จะปลูกในพื้นที่สวนยางที่ปลูกใหม่หลังจากได้รับทุนจากกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางพื้นที่ปลูกสาวนใหญ่ไม่เกิน 10 ไร่ อายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 3 เดือน ผลจากการทดสอบการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวเหนียวดำพันธุ์พื้นเมือง เมื่อปลูกในสภาพที่ลุ่ม ต.ชะแล้ อ.สิงหนคร โดยปลูก 2 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์เปลือกดำและพันธุ์เปลือกขาว พบว่าข้าวทั้ง 2 พันธุ์ที่ปลูกมีการเจริญเติบโตและผลผลติต่างกัน โดยข้าวเหนียวดำพันธุ์เปลือกดำมีอายุเก็บเกี่ยวสั้นกว่า (125 วัน) ให้ผลผลิตมากที่สุด 556.44 กิโลกรัมต่อไร่ ขณะที่พันธุ์เปลือกขาวมีอายุการเก็บเกี่ยว 140 วัน ให้ผลผลิต 476.67 กิโลกรัมต่อไร่จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าข้าวเหนียวดำพันธุ์พื้นเมืองพันธุ์เปลือกดำให้ผลผลิตที่ค่อนข้างสูงเหมาะที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก ส่วนการศึกษาคุณสมบัติของข้าวเหนียวดำพันธุ์พื้นเมือง และการเปลี่ยนแปลงคุณภาพระหว่างการเก็บรักษา โดยพันธุ์ข้าวเหนียวดำที่นำมาวิจัย คือ พันธุ์เปลือกดำ (ส่วนเปลือกมีสีดำ) และพันธุ์เปลือกขาว (ส่วนเปลือกมีสีเหลือนวล) แต่เมื่อนำมาขัดสี ลักษณะปรากฏและสีของข้าวสารเหนียวดำทั้งสองพันธุ์จะแตกต่างกันเล็กน้อย การนึ่งข้าวเหนียวดำให้นุ่นอร่อย ต้องแช่ข้าวเหนียวดำในน้ำก่อนอย่างน้อย 4 ชั่วโมง และนึ่งประมาณ 50 นาที การเก็บรักษาข้าวเหนียวดำควรบรรจุในถุงชนิดอลูมิเนียมฟอยล์ สามารถเก็บได้ประมาณ 3-4 เดือน ส่วนด้านศักยภาพการตลาด การจำหน่ายข้าวเหนียวดำในพื้นที่มีการจำหน่ายในรูปแบบของข้าวเปลือกเหนียวละข้าวสารเหนียว ข้าวเปลือกจะมีราคาที่ค่อนข้างสูงกว่าข้าวสารเหนียวข้าวเปลือกเหนียวปัจจุบันมีราคาประมาณ 70 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนข้าวสารเหนียวราคาประมาณ 60-68 บาทต่อกิโลกรัม
ไฟล์เอกสาร:
(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน)
การปลูก คุณสมบัติ การเก็บรักษา และการวางแผนกลยุทธุ์ทางการตลาด ของข้าวเหนียวดำพันธุ์พื้นเมืองในอำเภอคลองหอยโข่งและอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา