การศึกษาการปลูก และการให้ผลผลิตของข้าวเหนียวดำพันธุ์พื้นเมือง ในเขตอำเภอคลองหอยโข่งและอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ( Study of Cultivation and Yield Performances of Black Glutinous Rice Varieties in Klonghoykhong and Singhanakorn Amphor, Songkhla Province)
|
ประเภท: |
งานวิจัย |
ผู้แต่ง: |
พงษ์ศักดิ์ มานสุริวงศ์, อมรรัตน์ ชุมทอง |
สำนักพิมพ์: |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
ปีที่พิมพ์: |
2559 |
เลขหมู่: |
|
รายละเอียด: |
การศึกษาการปลูกและการให้ผลผลิตของข้าวเหนียวดำพันธุ์พื้นเมือง ดำเนินการทดลองในสภาพที่ลุ่มเป็นนาแบบน้ำขัง (ข้าวนาสวน) ที่ ต.ชะแล้ อ.สิงหนคร จ.สงขลา วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อก (RCBD) จำนวน 3 ซ้ำ โดยปลูกข้าวเหนียวดำ 2 พันธุ์ คือ พันธุ์เปลือกดำ และพันธุ์เปลือกขาวในแปลงย่อยขนาด 20x20 เมตร วัดการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าว 8 ลักษณะ คือ ความสูงที่ระยะเก็บเกี่ยว วันเก็บเกี่ยว ผลผลิตข้าวต่อไร่ น้ำหนักแห้งต่อ 100 เมล็ด ขนาดของเมล็ด เปอร์เซ็นต์ความชื้น ดัชนีความเร็วในการงอก และเปอร์เซ็นต์ความงอก พบว่า ข้าวทั้ง 2 พันธุ์ ที่ปลูกในพื้นที่นาลุ่มมีการเจริญเติบโตและผลผลิตต่างกันโดยข้าวเหนียวดำพันธุ์เปลือกดำมีอายุเก็บเกี่ยวสั้นกว่า (125วัน) ขณะที่พันธุ์เปลือกขาวมีอายุเก็บเกี่ยว 140 วัน พันธุ์เปลือกดำมีผลผลิตมากที่สุด (557.04กิโลกรัมต่อไร่) ส่วนพันธุ์เปลือกขาวให้ผลผลิต 509.63กิโลกรัมต่อไร่ พันธุ์เปลือกดำพันธุ์และเปลือกขาวมีดัชนีความเร็วในการงอกที่ 13.19 และ 19.25 ตามลำดับ และมีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ
นอกจากนี้ทำการศึกษาการปลูกและการให้ผลผลิตของข้าวเหนียวดำพันธุ์พื้นเมือง ทั้ง 2พันธุ์ ในสภาพที่ดอนเป็นนาแบบไม่ขังน้ำ (ข้าวไร่) ที่ อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อก (RCBD) จำนวน 3 ซ้ำ ปลูกในแปลงย่อยขนาด 20x20 เมตรพบว่า ข้าวเหนียวดำทั้ง 2 พันธุ์ ที่ปลูกในพื้นที่ดอนมีการเจริญเติบโตและผลผลิตไม่แตกต่างกัน โดยพันธุ์เปลือกดำมีความสูงต้นถึงปลายใบ 129.73 เซนติเมตร ให้ผลผลิต 711.11 กิโลกรัมต่อไร่ จำนวนเมล็ดดีต่อรวง 156.30 เมล็ดดัชนีความเร็วในการงอก15.93 และความงอกมาตรฐาน (เพาะแบบ Between Paper) ที่ 83.50 เปอร์เซ็นต์ ส่วนพันธุ์เปลือกขาวมีความสูงต้นถึงปลายใบ 133.33 เซนติเมตร ให้ผลผลิต 592.69กิโลกรัมต่อไร่ จำนวนเมล็ดดีต่อรวง 186.50 เมล็ด ดัชนีความเร็วในการงอก18.65และความงอกมาตรฐาน 94.50 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ข้อมูลจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าข้าวเหนียวดำพันธุ์พื้นเมืองสามารถให้ผลผลิตที่ค่อนข้างสูงสามารถส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกในสภาพที่ลุ่ม และที่ดอนได้ หรือใช้เป็นพืชร่วมระบบพืชอื่นๆ เพื่อเพิ่มเสริมรายได้ให้แก่เกษตรกรและอนุรักษ์พันธุ์ข้าวเหนียวดำพื้นเมืองไว้ |
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
การศึกษาการปลูก และการให้ผลผลิตของข้าวเหนียวดำพันธุ์พื้นเมือง ในเขตอำเภอคลองหอยโข่งและอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
|
|
|