ประเภท: |
งานวิจัย |
|
ผู้แต่ง: |
จรรย์สมร ผลบุญ, มณฑล ผลบุญ |
|
สำนักพิมพ์: |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
|
ปีที่พิมพ์: |
2559 |
|
เลขหมู่: |
ว.793.31 จ17ก |
|
รายละเอียด: |
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาโดยใช้วิธีการแบบผสม (mixed method) ระหว่างวิธีการเชิงคุณภาพและวิธีการเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาระบบการเรียนรู้นาฏยศัพท์ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองได้ทุกช่วงเวลา 2. เพื่อพัฒนาระบบฝึกปฏิบัติท่าราให้นักศึกษาได้พัฒนาทักษะและนาไปประยุกต์ใช้ในการจดบันทึกท่ารา ผลวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาระบบการเรียนรู้นาฏยศัพท์ ผู้วิจัยใช้ลักษณะเว็บแอพพิเคชัน (Web application) รายละเอียดหลักของระบบจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย 1) กระดานข่าว 2) แบบทดสอบ ประกอบด้วย แบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียน 3) บทเรียน ได้แก่ (1) ส่วนศีรษะ ไหล่ และลำตัว (2) ส่วนแขนและมือ (3) ส่วนเท้าและขา ในแต่ละส่วนนาเสนอเหมือนกันคือ ด้านเนื้อหา ภาพประกอบ วีดีโอสาธิต 2. ระบบฝึกปฏิบัติท่ารานาฏศิลป์ ประกอบด้วย 1) ฝึกท่าราด้วยตนเอง โดยสามารถระบุท่าราที่ต้องการเอง 2) ฝึกปฏิบัติท่าราโดยการสุ่มท่ารา ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์จะเป็นผู้กาหนดให้ ทั้งนี้ทั้ง 2 รูปแบบ ผู้เรียนจะต้องเลือกท่าทางจากหมวดต่างๆ ให้ถูกต้อง สุดท้ายจะมีการประมวลผลสัมฤทธิ์ให้แก่ผู้เรียน 3) การปฏิบัติบันทึกท่ารา ส่วนนี้เป็นการนามาประยุกต์ใช้กับการบันทึกท่ารา โดยผู้เรียนต้องระบุชื่อเพลง เนื้อเพลง และเลือกท่าทาง และสามารถพิมพ์เอกสารเพื่อจัดทาเป็นรายงานต่อไป 3. ผลการประเมินผลของระบบจากกลุ่มทดลองและควบคุม ทั้ง 4 กลุ่ม พบว่า กลุ่มทดลองที่ 1 และควบคุม 1 มีความรู้เรื่อง นาฏยศัพท์หลังการใช้ระบบการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการใช้ระบบการเรียนรู้อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เช่นเดียวกัน แต่หากพิจารณาช่วงเวลากลุมทดลอง 1 ใช้เวลาเพียง 1 สัปดาห์ ในขณะที่ กลุ่มควบคุม 1 ใช้เวลา 2 เดือนหลังจากเรียนเพลงช้า เพลงเร็วจบ นอกจากนี้นักศึกษากลุ่มทดลองที่ 2 มีคะแนนค่าเฉลี่ยที่สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ 2 ในทุกข้อประเด็น 4. การประเมินคุณภาพ และความพึงพอใจในระบบจัดการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติท่ารานาฏศิลป์ พบว่า ในเกณฑ์มีคุณภาพ/ความพึงพอใจมากที่สุด |
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
การพัฒนาระบบการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติท่ารำที่ใช้ในงานนาฏศิลป์ |
|