ประเภท: |
งานวิจัย |
|
ผู้แต่ง: |
อัญชสา สีนวนแก้ว, วัชรี เพ็ชรวงษ์, จุไรรัตน์ รัตติโชติ, อาชารินทร์ แป้นสุข |
|
สำนักพิมพ์: |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
|
ปีที่พิมพ์: |
2560 |
|
เลขหมู่: |
||
รายละเอียด: |
การวิจัยนี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนอุปกรณ์มือถือเพื่อส่งเสริมการผลิตและการตลาดของชาวนาที่สอดรับกับนโยบายประเทศไทย 4.0ด้วยการส่งเสริมหรือผลักดันให้ชาวนาเน้นการบริหารจัดการและเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming) และเปลี่ยนจากแรงงานทักษะต่ำไปสู่แรงงานที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และทักษะสูงซึ่งการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของความต้องการสารสนเทศและแอพพลิเคชั่นบนอุปกรณ์มือถือเพื่อส่งเสริมการผลิตและการตลาดของชาวนา 2) เพื่อวิเคราะห์และออกแบบแอพพลิเคชั่นบนอุปกรณ์มือถือเพื่อส่งเสริมการผลิตและการตลาดของชาวนา และ3) เพื่อพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนอุปกรณ์มือถือเพื่อส่งเสริมการผลิตและการตลาดของชาวนา เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา โดยแบ่งการวิจัยออกเป็น 3ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล 3ประเภท คือ 1) วิเคราะห์เอกสาร (Document Analysis) เกี่ยวกับความต้องการสารสนเทศของชาวนา โดยเลือกเอกสารประเภทงานวิจัย และบทความทางวิชาการ ตั้งแต่ปี 2555-2559 2) สัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลักใน 2กลุ่ม คือ (1) กลุ่มชาวนาที่มีแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา จำนวน 48 คนประกอบด้วย ตัวแทนจากชาวนาที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดสงขลา จาก 11อำเภอๆ ละ 2คน รวม 22 คน จังหวัดพัทลุง จาก 11อำเภอๆ ละ 2คน รวม 22 คน และจังหวัดนครศรีธรรมราช จาก 2อำเภอๆ ละ 2คน รวม 4 คน และ (2) เจ้าหน้าที่จากองค์กรภาครัฐ จาก 4หน่วยงานหลัก ได้แก่ สำนักงานเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานพาณิชย์ และสถานีพัฒนาที่ดิน ซึ่งผู้วิจัยได้เลือกตัวแทนจังหวัดละ 4 คน รวมทั้งสิ้น 15 คน และ 3) สังเกตและจดบันทึก ระยะที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงพัฒนาเพื่อวิเคราะห์และออกแบบแอพพลิเคชั่น และ ระยะที่ 3 เป็นการวิจัยเชิงพัฒนาเพื่อพัฒนาแอพพลิเคชั่น บนอุปกรณ์มือถือเพื่อส่งเสริมการผลิตและการตลาดของชาวนา ผลการวิจัยพบว่า 1. ชาวนามีความต้องการสารสนเทศในประเด็นเกี่ยวกับการเพิ่มผลผลิต การพัฒนาคุณภาพ การลดต้นทุน การแปรรูปผลผลิต การเพิ่มช่องทางการตลาดและการขาย และการปรับเปลี่ยนการปลูกพืชอายุสั้น ส่วนด้านพฤติกรรมการใช้มือถือสมาร์ทโฟนพบว่าชาวนานิยมใช้มือถือระบบปฏิบัติการ Android สำหรับสภาพปัจจุบันของความต้องการแอพพลิเคชั่นบนอุปกรณ์มือถือของชาวนา พบว่าชาวนามีความต้องการการใช้แอพพลิเคชั่นโดยวัตถุประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์การดำเนินงาน ติดตามข้อมูลข่าวสารเพื่อนำมาสู่การวางแผนทำนา ใช้เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันระหว่างชาวนา ใช้เป็นช่องทางในการขายผลผลิตข้าว และพัฒนากระบวนการผลิต และประเด็นท้ายสุดเกี่ยวกับสภาพของความต้องการแอพพลิเคชั่นบนอุปกรณ์มือถือพบว่าชาวนาต้องการด้านการแสดงผลของแอพพลิเคชั่นที่ใช้งานง่าย ไม่มีความซับซ้อน เนื้อหาอ่านง่ายสามารถเข้าใจได้ทันที 2. การวิเคราะห์และออกแบบแอพพลิเคชั่นบนอุปกรณ์มือถือ พบว่ามีการวิเคราะห์แอพพลิเคชั่นประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่ 1) ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง 4กลุ่ม คือ ชาวนา Social Network แหล่งข้อมูลอื่น ๆ และผู้ดูแลระบบ 2) การไหลของข้อมูล ประกอบด้วย 8 กระบวนการหลัก (Processes) ได้แก่กระบวนการที่ 1.0 รู้ทันข่าวสารชาวนา กระบวนการที่ 2.0 รอบรู้เรื่องการผลิตข้าว กระบวนการที่ 3.0 จัดการข้อมูลด้านการตลาดและการขาย กระบวนการที่ 4.0 จัดการห้องสมุด 4.0กระบวนการที่ 5.0 คุยกันเรื่องข้าว กระบวนการที่ 6.0 ค้นหาข้อมูลข้าว กระบวนการที่ 7.0 บันทึกข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้ และกระบวนการที่ 8.0 ติดต่อผู้ดูแลระบบ และ 3) ความสัมพันธ์ของข้อมูลที่จัดเก็บแล้วนำเสนอในรูปแบบ Entity Relation Diagram 3. แอพพลิเคชั่นบนอุปกรณ์มือถือเพื่อส่งเสริมการผลิตและการตลาดชาวนา หรือ “ชาวนา 4.0” ได้ประยุกต์ใช้ Ionic Framework ซึ่งเป็นเครื่องมือในการสร้าง HTML, CSS, JavaScript ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้ในการสร้าง Mobile Application ส่วนของการจัดการฐานข้อมูลได้ประยุกต์ใช้โปรแกรม XAMPP ซึ่งเป็นโปรแกรม Apache Web Server ผ่านทาง phpMyAdmin และจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ในฐานข้อมูล MySQLผลการประเมินแอพพลิเคชั่น พบว่าชาวนามีความพึงพอใจโดยภาพรวมในระดับมากที่สุด โดยมีความพึงพอใจในด้านการนำไปใช้ประโยชน์สูงสุด (Mean = 4.77)รองลงมา คือด้านการเข้าถึงแอพพลิเคชั่น (Mean= 4.62) และผลจากการประเมินความเหมาะสมของแอพพลิเคชั่นจากผู้เชี่ยวชาญมีค่าเท่ากับ 0.90 จึงสรุปได้ว่าแอพพลิเคชั่น “ชาวนา 4.0” สามารถนำไปใช้งานบนอุปกรณ์มือถือเพื่อส่งเสริมการผลิตและการตลาดของชาวนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
การพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนอุปกรณ์มือถือเพื่อส่งเสริมการผลิต และการตลาดของชาวนา |
|