ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นกับกระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoring ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ความสามารถในการสื่อสารและความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (THE EFFECTS )

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

อังคณา อุทัยรัตน์

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2559

เลขหมู่: 

ว.372.7 อ112ผ

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการสื่อสารและความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นกับกระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยงCoaching and Mentoringและเปรียบเทียบกับเกณฑ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1ปีการศึกษา 2559โรงเรียนเพาะปัญญา ตำบลนาโยงใต้ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง จำนวน 21 คน ซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ระยะเวลาทดลองจำนวน 20 คาบ คาบละ 60 นาที โดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One-Group Pretest-Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ แบบทดสอบวัดความสามารถในการให้เหตุผลและความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ด้านการเขียน แบบประเมินความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ด้านการพูด และแบบสัมภาษณ์การสื่อสารทางคณิตศาสตร์ด้านการพูด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ t-test for Dependent Samples และ t-test for One Sample ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังการจัดการเรียนรู้ด้วยขั้นตอนกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นกับกระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoringสูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยขั้นตอนกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นกับกระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoringสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีคะแนนเฉลี่ย 16.76 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 83.80 3. ความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังการจัดการเรียนรู้ด้วยขั้นตอนกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นกับกระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoringสูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยขั้นตอนกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นกับกระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoringสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีคะแนนเฉลี่ย 16.14 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 80.70 5. ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังการจัดการเรียนรู้ด้วยขั้นตอนกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นกับกระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoringสูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 6. ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยขั้นตอนกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นกับกระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoringสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีคะแนนเฉลี่ย 15.95 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 79.75 7. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยขั้นตอนกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นกับกระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoringจำแนกได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ นักเรียนที่มีความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ด้านการพูดอยู่ในระดับสูง สามารถพูดอธิบายโดยมีการใช้ภาษาที่ถูกต้อง ครบถ้วน ชัดเจน สื่อสารแนวคิดทุกครั้งได้อย่างชัดเจน จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 33.33 นักเรียนที่มีความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ด้านการพูดอยู่ในระดับปานกลาง สามารถพูดอธิบายโดยมีการใช้ภาษาที่ถูกต้องแต่ไม่ครบถ้วน จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 42.86 และมีส่วนน้อยที่มีความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ด้านการพูดอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งอธิบายโดยใช้ภาษาที่ไม่ถูกต้อง หรือไม่มีการสื่อสารแนวคิด จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 23.81

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นกับกระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoring ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ความสามารถในการสื่อสารและความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6