ประเภท: |
งานวิจัย |
|
ผู้แต่ง: |
เพ็ญพักตร นภากุล |
|
สำนักพิมพ์: |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
|
ปีที่พิมพ์: |
2559 |
|
เลขหมู่: |
ว 004.678 พ53พ |
|
รายละเอียด: |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1.ศึกษาพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา 2.ศึกษาปัญหาการใช้อินเทอร์เน็ตของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา การศึกษาครั้งนี้ใช้รูปแบบการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้วืธีการสำรวจ (Survey Research) กลุ่มเป้าหมายหลัก คือ นักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 1,040 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมและปัญหาการใช้อินเทอร์เน็ตของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (µ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยเลขคณิต = 3.80 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.47 และในรายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง 2. ผลการศึกษาปัญหาการใช้อินเทอร์เน็ตของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยเลขคณิต = 3.43 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.66 และในรายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง 3. นักศึกษาที่มีเพศต่างกันมีพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตด้านการศึกษาและด้านการติดต่อสื่อสารไม่แตกต่างกัน แต่มีพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตด้านความบันเทิงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และมีปัญหาการใช้อินเทอร์เน็ตด้านความบันเทิง ด้านอุปกรณ์สัญญาณและอาคารสถานที่ปัญหาเกี่ยวกับสมรรถนะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และปัญหาด้านการให้บริการจากบุคลากรสายสนับสนุนประจำห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ไม่แตกต่างกัน นักศึกษาที่มีระดับชั้นปีต่างกันมีพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตด้านการศึกษาและด้านความบันเทิงไม่แตกต่างกัน แต่มีพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตด้านการติดต่อสื่อสารแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ.05 และมีปัญหาการใช้อินเทอร์เน็ตด้านอุปกรณ์สัญญาณและอาคารสถานที่ ปัญหาเกี่ยวกับสมรรถนะทางเทคโนโลยีสารสนเทศและปัญหาการให้บริการจากบุคลากรสายสนับสนุนประจำห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 นักศึกษาที่มีโปรแกรมวิชาต่างกันมีพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตด้านการศึกษา ด้านการติดต่อสื่อสาร และด้านความบันเทิงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และมีปัญหาการใช้อินเทอร์เน็ตด้านอุปกรณ์ สัญญาณและอาคารสถานที่ปัญหาเกี่ยวกับสมรรถนะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และปัญหาด้านการให้บริการจากบุคลากรสายสนับสนุนประจำห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 |
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
พฤติกรรมและปัญหาการใช้อินเทอร์เน็ตของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
|