ความเป็นไปได้ในการใช้เถ้าลอยจากไม้ยางพาราเพื่อทดแทนดินลูกรังในอิฐบล็อกประสานชนิดไม่รับน้ำหนัก(The possibility of using fly ash from para-rubber wood to substitute lateritic soil in non-load interlocking brick)

ประเภท: 

โครงงานนักศึกษา

ผู้แต่ง: 

บุญชัย กาดำ

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2557

เลขหมู่: 

ว.620.14 บ43ค

รายละเอียด: 

งานวิจัยนี้นำเถ้าลอยจากไม้ยางพารา ซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิ้งในกระบวนการผลิตไอน้ำ ของอุตสาหกรรมปลากระป๋องนำมาทดแทนดินลูกรังในการผลิตอิฐบล็อกประสานชนิดไม่รับน้ำหนัก เนื่องจากเถ้าลอยไม้ยางพารามีน้ำหนักเบาและมีองค์ประกอบของ แคลเซียมออกไซด์ ซิลิกอนไดออกไซด์ และ อะลูมิเนียมออกไซด์ ซึ่งมีสมบัติเป็นวัสดุประสาน โดยมีอัตราส่วนของอิฐบล็อก ที่ใช้ศึกษาคือ ปูนซีเมนต์:ทรายดินลูกรัง 11.5x4.5 กำหนดส่วนผสมโดยแทนที่ดินลูกรังด้วยเถ้าไม้ ยางพาราในอัตราส่วน 100.0 (ชุดควบคุม) 95.5 (BF1) 90:16 (BF2) 85:15 (BF3) 80-20 (BF4) 75.25 (BF5) และ 70:30 (BF6) บ่มในอากาศ 28 วัน ผลการศึกษาพบว่าอิฐบล็อกประสานสูตร BF1 มีค่าความต้านแรงอัดสูงสุดคือ 6.54 +0.61 MP3 ซึ่งสูงกว่าชุดควบคุม (5.83+1.15 MPa) โดยยิ่งเพิ่ม ปริมาณส่วนผสมของเถ้า กำลังต้านแรงอัดจะยิ่งลดลง ค่าการดูดกลืนน้ำต่ำสุดในสูตรควบคุมมีค่า 128.00:0.00 kg/m รองลงมาเป็นสูตร BF1 (149.00:43.72 kg/m) และสูงสุดในสูตร BF6 (240.00+33.56 kg/m) ซึ่งการเพิ่มอัตราส่วนของเถ้า ค่าการดูดกลืนน้ำจะยิ่งเพิ่มขึ้น สำหรับค่าการ เปลี่ยนแปลงความยาวของอิฐบล็อกประสานทุกสูตรไม่แตกต่างกันมากนัก โดยเกือบทุกสูตรมีค่ากำลัง ต้านแรงอัดและการดูดกลืนน้ำเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน มผช.602/2547 ยกเว้นสูตร BF6 สำหรับค่าการเปลี่ยนแปลงความยาวทุกสูตรเป็นไปตามมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก.1505-2541 ซึ่ง อิฐบล็อกจากงานวิจัยทุกสูตรยกเว้นสูตร BF6 เหมาะสำหรับการใช้งานที่ไม่รับน้ำหนักเช่น อิฐสำหรับ งานประดับ อิฐสำหรับปูทางเดิน แต่เมื่อพิจารณาร่วมกับต้นทุนการผลิตนำให้ใช้สูตร BF4 เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตต่อก้อน 3.02 บาท ซึ่งต่ำกว่าชุดควบคุม 0.10 บาท/ก้อน และมีน้ำหนักเบา ผ่านเกณฑ์มาตรฐานความต้านแรงอัดการดูดกลืนน้ำ และการเปลี่ยนแปลงความยาว

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ความเป็นไปได้ในการใช้เถ้าลอยจากไม้ยางพาราเพื่อทดแทนดินลูกรังในอิฐบล็อกประสานชนิดไม่รับน้ำหนัก