ศึกษาการผลิตถั่วลิสงแบบอินทรีย์ (THE STUDY OF ORGANIC PEANUT PRODUCTION)

ประเภท: 

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง: 

กาณต์สิรี บุญช่วย

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2561

เลขหมู่: 

633.3896 ก24ศ 2561

รายละเอียด: 

ถั่วลิสงเป็นพืชตระกูลถั่วที่ให้โปรตีนสูงและมีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ดังนั้นเกษตรกรจึงนิยมใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพื่อเพิ่มผลผลิตถั่วลิสง ส่งผลให้มีสารพิษตกค้างในผลผลิตและสิ่งแวดล้อม งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากรรมวิธีที่เหมาะสมในการผลิตถั่วลิสงแบบอินทรีย์ ดำเนินการทดลองที่สถานีปฏิบัติการพืชไร่ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัย ราชภัฏสงขลา ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงตุลาคม ปี 2559 โดยใช้ถั่วลิสงพันธุ์ขอนแก่น 84-8 วางแผน การทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ในบล็อก (Randomized Complete Block Design; RCBD) จำนวน 5 ซ้ำ ประกอบด้วย 4 กรรมวิธี ดังนี้ กรรมวิธีที่ 1 แปลงควบคุม (ไม่ราดน้ำส้มควันไม้ ไม่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง ไม่ใช้น้ำหมักชีวภาพพืชสีเขียว ไม่ใช้น้ำหมักชีวภาพผลไม้สุก และไม่ใช้ยิปซัม) กรรมวิธีที่ 2 ใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง รดน้ำหมักชีวภาพพืชสีเขียว กรรมวิธีที่ 3 ราดน้ำส้มควันไม้ ใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง รดน้ำหมักชีวภาพผลไม้สุกสลับกับน้ำหมักชีวภาพพืชสีเขียว สัปดาห์ละครั้ง และกรรมวิธีที่ 4 ราดน้ำส้มควันไม้ ใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง รดน้ำหมักชีวภาพผลไม้สุกสลับกับ น้ำหมักชีวภาพพืชสีเขียว สัปดาห์ละครั้ง และโรยยิปซัม พบว่ากรรมวิธีที่ 2, 3 และ 4 ให้น้ำหนักฝักสดไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ด้วยน้ำหนัก 1,088.70, 1,086.50 และ 1,068.00 กิโลกรัม/ไร่ ตามลำดับ แต่อย่างไรก็ตาม ทั้ง 3 กรรมวิธีนั้นต่างจากกรรมวิธีที่ 1 แปลงควบคุม ด้วยน้ำหนักฝักสดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) 862.80 กิโลกรัม/ไร่ กรรมวิธีที่ 2, 3 และ 4 ให้น้ำหนักเมล็ดสดไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ อยู่ในช่วง 557.74-615.15 กิโลกรัม/ไร่ แต่มีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ (p≤0.05) กับกรรมวิธีที่ 1 แปลงควบคุม (382.04 กิโลกรัม/ไร่) นอกจากนี้ พบว่า ทุกกรรมวิธีมีน้ำหนักเมล็ดสด 100 เมล็ด อยู่ในช่วง 68.60 -75.40 กรัม ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ศึกษาการผลิตถั่วลิสงแบบอินทรีย์