โมเดลสมการโครงสร้างพฤติกรรมสุขภาพตามบทสุขบัญญัติแห่งชาติ ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประถมศึกษา ในอำเภอเมือง จังหวัดยะลา (A STRUCTURAL MODEL OF HEALTH BEHAVIOR IN TERMS OF NATIONAL HEALTH RECOMMENDATIONS AMONG ELEMENTARY STUDENTS GRADE 5 IN MUE

ประเภท: 

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง: 

ขจรศักดิ์ ไชยนาพงศ์

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2561

เลขหมู่: 

613.0433 ข12ม 2561

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้มุ่งพรรณนาระดับพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติและคาดการณ์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประถมศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดยะลา จำนวน 124 คน ประยุกต์ใช้ระยะที่ 3 ของทฤษฎี PRECEDE-PROCEED Model โดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน คำนวณกลุ่มตัวอย่างด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลพหุตัวแปรในรูปแบบของโมเดลสมการโครงสร้างกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วนของ Hair, Hult, Ringle, and Sarstedt (2014) ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจหาความตรงด้านเนื้อหาได้ค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.50-1.00 และหาค่าความเชื่อมั่นด้วยวิธีหาสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Conbach’s Alpha Cofficient) อยู่ในช่วง 0.70-0.93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้วยโมเดลสมการโครงสร้างกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน (A Partial Least Square Structural Equation modeling) ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติของนักเรียนอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 35.48 2) ศาสนา รายได้เฉลี่ยของครอบครัวต่อเดือน ระดับการศึกษาของบิดาและสถานภาพของบิดา/มารดา มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) การได้รับดูแลเอาใจใส่จากผู้ปกครองและการได้รับการดูแลเอาใจใส่จากครู มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (β=0.292, t=3.486, P=0.000) และ 4) สิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่บ้านและสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่โรงเรียนมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (β=0.450, t=4.724, P=0.000) โมเดลสมการโครงสร้างตามการประยุกต์ใช้ทฤษฎีนี้สามารถอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติได้ร้อยละ 41.00 (R2=0.410) ซึ่งค่าความผันแปรของพฤติกรรมสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง ดังนั้น ผู้ปกครองและครูควรดูแลเอาใจใส่นักเรียนในด้านสุขภาพอนามัยส่วนบุคคลรวมถึงจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่บ้านและโรงเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนและหน่วยงานด้านสาธารณสุขควรเข้ามาส่งเสริมปัจจัยเสริมและปัจจัยเอื้อต่อการเกิดพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติของนักเรียนเพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพที่ดีต่อไป

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

โมเดลสมการโครงสร้างพฤติกรรมสุขภาพตามบทสุขบัญญัติแห่งชาติ ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประถมศึกษา ในอำเภอเมือง จังหวัดยะลา