การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้ แบบ SQ4R ร่วมกับบทอ่านเรื่องราวในท้องถิ่น อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา (DEVELOPMENT OF READING COMPREHENSION IN ENGLISH OF GRADE 6 STUDENTS USING SQ4R MO
|
ประเภท: |
วิทยานิพนธ์ |
ผู้แต่ง: |
นงค์ลักษณ์ วรรณโณกิจ |
สำนักพิมพ์: |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
ปีที่พิมพ์: |
2561 |
เลขหมู่: |
372.6521 น12ก 2561 |
รายละเอียด: |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับบทอ่านเรื่องราวในท้องถิ่นอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับบทอ่านเรื่องราวในท้องถิ่นอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนวัดนิคมประสาทมิตรภาพที่ 149 อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา จำนวน 1 ห้อง รวม 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัด การเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับบทอ่านเรื่องราวในท้องถิ่นอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 6 แผน 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจแบบเลือกตอบ ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับบทอ่านเรื่องราวในท้องถิ่นอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้สถิติทดสอบแบบที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับบทอ่านเรื่องราวในท้องถิ่นอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 และ 2) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับบทอ่านเรื่องราวในท้องถิ่นอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา อยู่ในระดับมาก
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้ แบบ SQ4R ร่วมกับบทอ่านเรื่องราวในท้องถิ่น อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
|
|
|