การศึกษาความเป็นไปได้ในการเปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์นิเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา วิทยาเขตสตูล

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

อาชารินทร์ แป้นสุข, อัฐชสา สีนวนแก้ว, วนิดา เพ็ชร์ลมุล

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2558

เลขหมู่: 

ว.378.199 อ22ก

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการเปิดหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์นิเทศ โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา วิทยาเขตสตูล โดย ทำการศึกษาวิจัยใน 3 ประเด็นย่อย ได้แก่ 1) ศึกษาความต้องการศึกษาต่อของนักเรียนในระดับ ปริญญาตรีหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์นิเทศ โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยราช ภัฏสงขลา วิทยาเขตสตูล 2) ศึกษาความต้องการแรงงานของสถานประกอบการทางสาขาวิชา วิทยาศาสตร์นิเทศ ของโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา วิทยาเขตสตูล และ 3) ศึกษา ความพร้อมของโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา วิทยาเขตสตูลในการเปิดหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์นิเทศ ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีที่ 6 และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 ใน 9 จังหวัด จำนวน 398 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย และ 2) ผู้จัดการฝ่ายบุคคลของสถานประกอบการ ใน 9 จังหวัด จำนวน 44 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็น แบบสอบถาม และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับโครงการตั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา วิทยาเขตสตูล ทั้งนี้ แบบสอบถามมี 2 ฉบับ คือ 1) แบบสอบถามความต้องการศึกษาต่อของนักเรียน หลักสูตรวิทยา ศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์นิเทศ โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา วิทยาเขตสตูล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 6 และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 คำถามเป็น แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มี 6 ระดับ และ 2) แบบสอบถามความต้องการแรงงาน ของสถานประกอบการทางสาขาวิชาวิทยาศาสตร์นิเทศ คำถามเป็นแบบมาตรฐานส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มี 6 ระดับ สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยมีวิธีการให้กลุ่มตัวอย่างตอบ แบบสอบถามออนไลน์ ซึ่งผู้วิจัยมีช่องทางที่หลากหลายในการตอบ คือ เข้าสู่เว็บไซต์โดยตรงที่ และ การสแกน QR Code ซึ่งนักเรียนตอบแบบสอบถามออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ https://goo.gl/PtgePE ในขณะที่ผู้ใช้บัณฑิตหรือสถานประกอบการตอบแบบสอบถามออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ https://goo.gl/T1wGf2 จากการตอบแบบสอบถามของนักเรียนมีจำนวน 306 คนคิดเป็นร้อยละ 77.0 ส่วนกลุ่มผู้ใช้บัณฑิตหรือสถานประกอบการตอบกลับจำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 90.90 ผลงานวิจัยพบว่า 1. ความต้องการในการศึกษาต่อหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์นิเทศโครงการการจัดตั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา วิทยาเขตสตูล ภาพรวมความต้องการในการศึกษาต่อหลักสูตรวิทยาศาสตร สาขาวิทยาศาสตร์นิเทศ โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา วิทยาเขตสตูล อยู่นะระดับความต้องการมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.85 และเมื่อพิจารราเป็นรายด้านสามอับดับแรก ได้แก่ อับดับที่ 1 โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาวิทยาเขตสตูลได้มีการช่วยเหลือนักศึกษาที่มีความประสงค์ที่จะกู้เงินกองทุนเพื่อการศึกษา นักเรียนต้องการศึกษาในหลักสูตรนี้ มี่ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.98 รองลงมา โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา วิทยาเขตสตูลมีศูนย์กีฬาสำหรับให้นักศึกษาได้ออกกำลังกายนักเรียนต้องการศึกษาในหลักสูตรนี้ มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 3.93 และ อันดับที่ 3 เมื่อนักเรียนประเมินสภาพหลายๆ ด้านที่เกี่ยวข้องกับตัวนักเรียน เช่น ค่าบำรุงการศึกษา สิ่งอำนวยความสะดวก เป็นต้น นักเรียนจะตัดสินใจศึกษาในหลักสูตรนี้ ร้อยละ 391 ตามลำดับ สำหรับความสัมพันธ์ข้อมูลของนักเรียนกับความต้องการเรียนต่อในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์นิเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างเพศกับความต้องการเรียนต่อใน หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์นิเทศ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 05 และเมื่อพิจารณา ปรากฏว่ามีความต้องการที่จะศึกษาต่อในสาขาวิทยาศาสตร์นิเทศเป็น เพศ หญิงมีความต้องการที่จะศึกษาต่อ ร้อยละ 64.40 และไม่ต้อง ร้อยละ 35.60 ส่วนเพศชาย ต้องการ ที่จะศึกษาต่อ ร้อยละ 52.50 และ ไม่ต้องการที่จะศึกษาต่อร้อยละ 47.50 ตามลำดับ ส่วน ความสัมพันธ์ระหว่างระดับการศึกษากับความต้องการเรียนต่อในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขา วิทยาศาสตร์นิเทศ ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่เมื่อพิจารณา ความต้องการที่จะศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์นิเทศ มัธยมศึกษาปีที่ 6 มีความต้องการศึกษาต่อ ร้อยละ 60.30 และไม่ต้องการ ร้อยละ 39.70 ตามลำดับ ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างสาขาวิชาที่กำลังศึกษากับความต้องการเรียนต่อใน หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์นิเทศ ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่เมื่อพิจารณา ความ ต้องการที่จะศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์นิเทศ วิทย์-คณิต มีความต้องการศึกษาต่อ ร้อยละ 61.10 และ ไม่ต้องการ ร้อยละ 38.90 ตามลำดับความสัมพันธ์เกรดเฉลี่ยสะสม (GPA) กับความต้องการเรียนต่อ ในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์นิเทศ ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่เมื่อพิจารณา ความต้องการที่จะศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์นิเทศ นักเรียนที่เกรด 2.6 - 3.0 มีความต้องการศึกษาต่อ ร้อยละ 63.40 และไม่ต้องการ ร้อยละ 36.60 ตามลำดับ และ นักเรียนที่เกรด 3.1 – 3.5 มีความ ต้องการศึกษาต่อ ร้อยละ 63.10 และไม่ต้องการร้อยละ 36.90 ตามลำดับ 2. ความต้องการแรงงานของสถานประกอบการในการเปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์นิเทศ ปรากฏว่า บัณฑิตที่จะจบจากหลักสูตรนี้ตามความต้องการแรงงานของ สถานประกอบการมีคุณลักษณะพิเศษด้าน มีความรู้ความสามารถการสื่อสารด้วยภาษาต่างประเทศ ร้อยละ 35.00 และ การวิทยาศาสตร์เชิงสื่อสาร ข่าว สารสนเทศ สารคดี การกำกับดูแล และ จรรยาบรรณวิชาชีพในสื่อวิทยาศาสตร์ อาทิ ภัยพิบัติ แผ่นดินไหว การสื่อสารในสภาวะวิกฤต ที่ เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และการสื่อสาร ร้อยละ 23.30 และยังต้องการความชำนาญด้านความรู้ แนวคิด ทฤษฎี และกระบวนทัศน์ สามารถบูรณาการกับเหตุการณ์ปัจจุบันในโลกของความเป็นจริง พร้อมทั้งสามารถแก้ปัญหาให้กับหน่วยงานและองค์กรได้ ร้อยละ 38.00 และ ด้านวิทยาศาสตร์เชิง สื่อสาร ข่าว สารสนเทศ สารคดี การกำกับดูแล และจรรยาบรรณวิชาชีพในสื่อ ร้อยละ 32.00 รองลงมา ด้านการประยุกต์ใช้สื่อยุคใหม่ในบริบทต่างๆ ในสังคมยุคโลกาภิวัตน์ ร้อยละ 30.00 ตามลำดับ ปรากฏว่า บัณฑิตที่จบหลักสูตรนี้สามารถทำงานในสถานประกอบการ ส่วนใหญ่ ต้องการ ทำงานในสายนิเทศศาสตร์ ร้อยละ 55.00 และสามารถเข้ารับได้ทุกปี เช่น ในปี 2563 รับจำนวน 1 คนร้อยละ 6.00 และ ปี 2560 รับจำนวน 3 คน ร้อยละ 18.00 และ ปี 2565 2566 รับจำนวน 1 คน ร้อยละ 6.00 และยังมีที่ไม่รับเข้าทำงานอีก 9 สถานประกอบการ ร้อยละ 52.00 ตามลำดับ ภาพรวมของความต้องการแรงงานของสถานประกอบการ อยู่ในเกณฑ์ความต้องการมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.51 และเมื่อพิจารณาเรียงลำดับความสำคัญ 3 อับดับ ได้แก่ อับดับที่ 1 สถานประกอบการของท่านมุ่งเน้นความรู้ ความสามารถของบัณฑิตหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์นิเทศในแต่ละด้าน (ภาพรวม) มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.81โดยมีความต้องการทักษะการใช้อินเทอร์เน็ต มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.28 และทักษะการใช้สื่อมัลติมีเดีย มีค่าเท่ากับ 4.22 อันดับที่ 2จากประสบการณ์ของท่าน ถ้าหากวิเคราะห์ถึงแนวโน้มของเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต 5-10 ปี ท่านคิดว่าตลาดแรงงานต้องการบุคลากรที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์นิเทศ มีค่าเฉลี่ย 3.72 และ อับดับที่ 3 สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีความพร้อมควรจะเปิด สาขาวิทยาศาสตร์นิเทศเพื่อรองรับ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ร้อยละ 3.56 ตามลำดับ ความสัมพันธ์ ระหว่างสถานประกอบการกับความพร้อมในการเปิด สาขาวิทยาศาสตร์นิเทศ ไม่แตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ แต่เมื่อพิจารณาความพร้อมในการเปิด สาขาวิทยาศาสตร์นิเทศของหน่วยงาน รัฐบาล เห็นด้วยมากที่สุด ร้อยละ 7.70 เห็นด้วยมาก ร้อยละ 61.50 เห็นด้วยปานกลาง ร้อยละ 30.80 ตามลำดับ ความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินกิจการ (ปี) กับความพร้อมในการเปิด สาขา วิทยาศาสตร์นิเทศ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่เมื่อพิจารณา ความพร้อมในการเปิด สาขาวิทยาศาสตร์นิเทศของการดำเนินกิจการ (ปี) เห็นด้วยมากที่สุด ร้อยละ 9.10 เห็นด้วยมาก ร้อยละ 36.40 เห็นด้วยปานกลาง ร้อยละ 45.50 และ เห็นด้วยน้อย ร้อยละ 9.10 ตามลำดับ 3. ความพร้อมของโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา วิทยาเขตสตูล ในการเปิด หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์นิเทศ ใน 2 ด้าน ได้แก่ ด้านบุคลากรสาขาวิชา และ ด้านอาคาร สถานที่ พบว่าโดยรวมมีความพร้อมในทุกด้านในการเปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์นิเทศซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานหลักสูตร ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับ ปริญญาตรี พ.ศ. 2558 ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ จากการวิเคราะห์ทั้ง 3 องค์ประกอบได้แก่ ความต้องการของนักเรียนในการศึกษาต่อ ความ ต้องการของสถานประกอบการ และความพร้อมของโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา วิทยา เขตสตูล เพื่อหาความเป็นไปได้ในการเปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์นิเทศ โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา วิทยาเขตสตูล สรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีที่ 6 และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 ส่วนใหญ่ มีความต้องการเรียนต่อในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์นิเทศของโครงการ จัดตั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา วิทยาเขตสตูล 2. สถานประกอบการในพื้นที่ใกล้เคียงทั้ง 9 จังหวัด มีความต้องการแรงงานทางสาขาวิชา วิทยาศาสตร์นิเทศ รวมถึงสถานประกอบการยินดีและให้ความร่วมมือในการผลิตบัณฑิตสาขาดังกล่าว ด้วยการเป็นวิทยากร และการเป็นแหล่งสถานที่ฝึกงานให้กับนักศึกษา และ 3. โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา วิทยาเขตสตูล มีความพร้อมที่จะเปิดหลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์นิเทศ ดังนั้นการเปิดสอนในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์นิเทศของโครงการ จัดตั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา วิทยาเขตสตูลจึงมีความเป็นไปได้ ข้อเสนอแนะ 1. สถานประกอบการมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการบัณฑิตที่มีคุณลักษณะที่มุ่งเน้นความรู้ ความสามารถของบัณฑิตหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์นิเทศ ทักษะการใช้สื่อ มัลติมีเดีย ทักษะการใช้อินเทอร์เน็ตในระดับมาก ดังนั้นหลักสูตรควรพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้ สอดคล้องตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสถานประกอบการ 2. ในการผลิตบัณฑิตสถาบัน ควรตระหนักถึงความสําคัญของผู้ใช้บัณฑิตที่ต้องการบัณฑิตที่มีความรู้ ความรู้ความสามารถการสื่อสารด้วยภาษาต่างประเทศในระดับมาก จึงควรพัฒนาหลักสูตรให้เป็นไป ตามแนวทางจัดการเรียนการสอน หรือการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการแรงงานของ สถานประกอบการ

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การศึกษาความเป็นไปได้ในการเปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์นิเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา วิทยาเขตสตูล