การพัฒนาแผ่นอัดจากผักตบชวาผสมต้นธูปฤาษี : The Development of the Production of Particleboard by Mixing of Water hyacinth and Bulrush
|
ประเภท: |
โครงงานนักศึกษา |
ผู้แต่ง: |
ดาแนล มาลินี, มูฮัมหมัดไซดี มูสอ |
สำนักพิมพ์: |
โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
ปีที่พิมพ์: |
2556 |
เลขหมู่: |
ว.674.834 ด25ก |
รายละเอียด: |
ผักตบชวาและต้นธูปฤาษีเป็นพืชที่มีอยู่ทั่วไปตามแหล่งน้ำ ซึ่งทำให้มีผลเสียต่อระบบนิเวศทางน้ำดังนั้นเพื่อเป็นการลดปัญหาดังกล่าว งานวิจัยนี้จึงมีแนวความคิดที่จะนำผงเส้นใยมาทำเป็นแผ่นอัด และมีตัว ประสานเป็นกาวยูเรีย-ฟอร์มัลดีไฮด์ โดยการนำส่วนก้านใบของผักตบชวา และส่วนใบของต้นธูปฤาษี ล้าง ทำความสะอาด ตัดเป็นชิ้นขนาด 1-2 นิ้ว โดยประมาณ แล้วนำไปอบที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง นำไปปั่นด้วยเครื่องปั่น ใช้เวลาในการปั่น 10 นาที แล้วนำผงเส้นใยที่ได้ ไปร่อนผ่านตะแกรงร่อน ตาขนาด 1000 ไมครอน และนำผงเส้นใยที่ได้ไปผสมกับกาวยูเรีย-ฟอร์มัลดีไฮด์ ในอัตราส่วนแต่ละ อัตราส่วนดังนี้ คือ 10 : 90 30 : 70 50 : 50 70 30 และ 90 : 10 ตามลำดับ อุณหภูมิที่ใช้ 150 องศาเซลเซียส ขึ้นรูปในการอัดร้อน 15 นาที อัดเย็น 5 นาที จากการศึกษาสมบัติของแผ่นอัดจากผักตบชวา ผสมกับต้นธูปฤาษี ซึ่งอัตราส่วน 10 : 90 และ 30.70 ไม่สามารถอัดขึ้นรูปได้ เนื่องจากกาว-ยูเรียฟอร์มัลดีไฮด์ ไหลออกจากเบ้าอัด โดยพบว่าเมื่อเพิ่มผงเส้นใยและลดกาวยูเรีย-ฟอร์มัลดีไฮด์ลง ทำให้เปอร์เซ็นการพองตัว เมื่อแช่น้ำ การดูดซึมน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามไปด้วย และสมบัติการหักงอลดลง ตามที่ลดอัตราส่วนของ กาวยูเรีย-ฟอร์มัลดีไฮด์ลง เมื่อเปรียบเทียบสมบัติของแผ่นอัดจากผักตบชวาผสมต้นธูปฤาษีกับเกณฑ์กำหนด มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไม้อัดชนิดราบ : ความหนาแน่นปานกลาง มอก. 876 - 2532 สมบัติที่ ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน คือสมบัติการดูดซึมน้ำ สมบัติการพองตัวเมื่อแช่น้ำ ส่วนสมบัติการหักงอไม่ผ่านเกณฑ์มาตาฐาน |
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
การพัฒนาแผ่นอัดจากผักตบชวาผสมต้นธูปฤาษี
|
|
|