ประเภท: |
โครงงานนักศึกษา |
|
ผู้แต่ง: |
ดวงหทัย จันทร์สีสุข, นาฮีม๊ะ ลาเต๊ะ, ปานเพ็ชร ฝอยทอง |
|
สำนักพิมพ์: |
โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
|
ปีที่พิมพ์: |
2555 |
|
เลขหมู่: |
ว.631.89 ด17ผ |
|
รายละเอียด: |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของน้ำหมักชีวภาพจากพืชและสัตว์ต่อการเจริญเติบโตของ ผักกาดขาว โดยทำการเตรียมน้ำหมักชีวภาพ 3 สูตร มีส่วนประกอบและอัตราส่วน ดังนี้ สูตรที่ 1 (พืช: สัตว์ น้ำ อัตราส่วน 2: : 2) สูตรที่ 2 (พืช, สัตว์, น้ำ อัตราส่วน 122, 2) และสูตรที่ 3 (พืช, สัตว์: น้ำ อัตราส่วน 1: 1: 2) ทำการวัดอุณหภูมิ ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ค่าการนำไฟฟ้า (EC) และวิเคราะห์ใน โตรเจนทั้งหมด โดยใช้วิธี Micro kjeldahl Method ฟอสฟอรัสทั้งหมดใช้วิธี Bray No 1 (Spectrophotometer) และ โพแทสเซียมใช้วิธี Atomic abcorption (spectrophotometer) ที่เวลา 0, 1,14 และ 21 วัน หลังการหมักพบว่า น้ำหมักชีวภาพทั้ง 3 สูตร มีอุณหภูมิและความเป็นกรด-ด่างลดลงในช่วง วันแรก และคงที่ตลอดระยะเวลา การทดลอง ค่าการนำไฟฟ้าพบว่าเพิ่มขึ้นในช่วง 7 วันแรก และมีค่าคงที่จนถึงสัปดาห์สุดท้ายของการหนัก ที่ ระยะเวลา 21 วันของการหมัก พบว่าน้ำหมักชีภาพ สูตรที่ 2 มีปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดมากที่สุด (0.96 %) ส่วนน้ำหมักชีภาพ สูตรที่ 1 มีปริมาณฟอสฟอรัสทั้งหมดและโพแทสเซียมมากที่สุด คือ 0.21 และ 0.38 % ตามลำดับ จากนั้นศึกษาผลของน้ำหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตของผักกาดขาวในเรือนทดลองในระยะเวลา 45 วัน โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design: CRD) จำนวน 5 ชุด ทดลองๆ ละ 10 ซ้ำ ดังนี้ ชุดการทดลองที่ 1 รดน้ำธรรมดา ชุดการทดลองที่ 2 รดด้วยน้ำหมักสูตรที่ 1 ชุดการ ทดลองที่ 3 รดด้วยน้ำหมักสูตรที่ 2 ชุดการทดลองที่ 4 รดด้วยน้ำหมักสูตรที่ 3 และชุดการทดลองที่ 5 ใช้ ปุ๋ยเคมี (15: 15:15) โดยใช้อัตราส่วนเจือจางที่ 1 : 500 รดต้นผักกาดขาวสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ทุกชุดการทดลอง พบว่าน้ำหนักและความกว้างของต้นผักกาดขาวไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ส่วนชุดการทดลองที่รดด้วย น้ำหมักชีวภาพของสูตรที่ 3 ต้นผักกาดขาวมีความสูงเฉลี่ยของลำต้นมากที่สุด (14.25 ซม. ต้น) |
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
ผลของน้ำหมักชีวภาพจากพืชและสัตว์ต่อการเจริญเติบโตของผักกาดขาว |
|