รายละเอียด: |
การศึกษาเรื่องการผลิตน้ำหมักชีวภาพจากขนไก่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการทำน้ำหมักจากขนไก่ และการวิเคราะห์หาธาตุอาหารหลักในน้ำหมักชีวภาพ โดยทำการหมักแบบไม่ใช้ออกซิเจน อัตราส่วน ระหว่างขนไก่กับเปลือกสับปะรด 5 สูตร ได้แก่สูตรที่ 1 (0-100) สูตรที่2 (25.75) สูตรที่ 3 (50:50) สูตรที่ 4 (75:25) และสูตรที่ 5 (1000) ระยะเวลาที่ใช้ในการหมัก 1 เดือน ทำการวัดอุณหภูมิ ค่าความเป็นกรด-ด่าง ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ผลการศึกษาพบว่า น้ำหมักชีวภาพทั้ง 5 สูตรมีอุณหภูมิสูง ในช่วงสัปดาห์แรก ความเป็นกรด-ด่างทั้ง 5 สูตรใกล้เคียงกัน และพบว่าน้ำหมักชีวภาพสูตรที่ 3 (50:50) มีปริมาณร้อยละใน โตรเจนและฟอสฟอรัส มากที่สุด คือ 0.56 และ 0.54 ตามลำดับ ส่วนน้ำหมักชีวภาพ สูตรที่ 5 (1000) มีปริมาณร้อยละโพแทสเซียมมากที่สุด คือ 0.51 ซึ่งอยู่ในช่วงที่เหมาะสมตามคุณสมบัติ ทั่วไปของน้ำหมักชีวภาพคือ 0.03-1.66 ,0-0.40 และ 0.05-3.53 ตามลำดับ
การศึกษาผลของน้ำหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตของผักบุ้งนั้น พบว่าการเจริญเติบโตด้าน ความสูง จำนวนใบ และมวลชีวภาพ ระยะเวลาที่ใช้ในการปลูก 1 เดือน การใช้น้ำหมักชีวภาพสูตรที่ 3 (50:50) มีอัตราความสูง จำนวนใบและมวลชีวภาพมากกว่าสูตรอื่นๆ
ดังนั้นจากการศึกษาลักษณะทางกายภาพและเคมีของน้ำหมักชีวภาพจากขนไก่ พบว่าน้ำหมัก ชีวภาพที่สูตรที่ 3 (50-50) อยู่ในช่วงที่เหมาะสมที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ สามารถช่วยบำรุงการ เจริญเติบโตของต้นผักบุ้งได้เป็นอย่างดี สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้ อีกทั้งเป็นการ ประหยัดต้นทุนและใช้เศษวัสดุเหลือทิ้งให้เกิดประโยชน์
|