ประเภท: |
โครงงานนักศึกษา |
|
ผู้แต่ง: |
อนันต์เทพ จันทร์ช่วยนา, พนิดา สังวาลย์ |
|
สำนักพิมพ์: |
โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
|
ปีที่พิมพ์: |
2558 |
|
เลขหมู่: |
ว.631.87 อ15ก |
|
รายละเอียด: |
การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของน้ำหมักชีวภาพจากใบขี้เหล็กและฝักจามจุรี ในการกำจัดหอยเชอรี่ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของน้ำหมักชีวภาพจากใบขี้เหล็ก และฝักจามจุรีในการกำจัดหอยเชอรี่ 2) ศึกษาปริมาณธาตุอาหารหลักในน้ำหมักชีวภาพจากใบขี้เหล็ก และฝักจามจุรี โดยศึกษาน้ำหมักชีวภาพ 3 สูตร คือ สูตรที่ 1 น้ำหมักชีวภาพจากใบขี้เหล็ก สูตรที่ 2 น้ำหมักชีวภาพจากฝักจามจุรี และสูตรที่ 3 น้ำหมักชีวภาพจากใบขี้เหล็กผสมฝึกจามจุรี จากการศึกษา ประสิทธิภาพของน้ำหมักชีวภาพในการกำจัดหอยเชอรี่ พบว่า สูตรที่ 2 มีประสิทธิภาพในการกำจัด หอยเชอรี่ได้ร้อยละ 100 รองลงมา คือ สูตรที่ 3 มีประสิทธิภาพในการกำจัดหอยเชอรี่ได้ร้อยละ 56.70 และสูตรที่ 1 ไม่สามารถกำจัดหอยเชอรี่ได้ แต่มีผลในการขับไล่หอยเชอรี่ในบริเวณที่มีน้ำหนัก ชีวภาพ และจากการศึกษาปริมาณของน้ำหมักชีวภาพในการกำจัดหอยเชอรี่ โดยใช้น้ำหมักชีวภาพ สูตรที่ 2 ในปริมาณที่แตกต่างกัน คือ 5 10 และ15 มิลลิลิตร ต่อน้ำกลั่น 1,000 มิลลิลิตร พบว่า น้ำหมักชีวภาพสูตรที่ 2 ในปริมาณ 5 มิลลิลิตร มีประสิทธิภาพกำจัดหอยเซอร์ได้ร้อยละ 100 ซึ่งไม่มี ความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับปริมาณน้ำหมักชีวภาพ 10 และ 15 มิลลิลิตร การศึกษาปริมาณธาตุอาหารหลักของน้ำหมักชีวภาพทั้ง 3 สูตร พบว่า มีปริมาณธาตุ อาหารหลักคือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ดังนี้ สูตรที่ 1 เท่ากับ 0.041 เปอร์เซ็นต์ 0.066 เปอร์เซ็นต์ 0.060 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ สูตรที่ 2 เท่ากับ 0.00028 เปอร์เซ็นต์ 0.00061 เปอร์เซ็นต์ 0.00052 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และสูตรที่ 3 เท่ากับ 0.20 เปอร์เซ็นต์ 0.31 เปอร์เซ็นต์ 0.27 เปอร์เซ็นต์ ตามล่าดับ ซึ่งจะเห็นได้ว่าน้ำหมักชีวภาพสูตรที่ 2 มีปริมาณธาตุอาหารหลัก ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม สูงที่สุด |
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของน้ำหมักชีวภาพจากใบขี้เหล็กและฝักจามจุรีในการกำจัดหอยเชอรี่ |
|