การพัฒนากระถางเพาะชำชีวภาพจากทะลายปาล์มเพาะเห็ดและใยปาล์ม (Development of Organic Nursery Pots from Palm Bunche Used in Mushroom Cultivation and Palm Fiber)

ประเภท: 

โครงงานนักศึกษา

ผู้แต่ง: 

ซอลีฮะห์ สตันน๊อด, นุจรี เอ็มเล่ง

สำนักพิมพ์: 

โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2558

เลขหมู่: 

ว.635.98 ซ19ก

รายละเอียด: 

ทะลายปาล์มเพาะเห็ดและใยปาล์มเป็นวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรเพื่อลดปัญหามลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม โดยนำมาทำเป็นกระถาง เพาะปลูก ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ได้ทำการผสมทะลายปาล์มที่ผ่านการเพาะเห็ดแล้วนำไปย่อยโดยเครื่อง ย่อยจนได้ทะลายปาล์มที่ละเอียดผสมกับใยปาล์มในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน 5 อัตราส่วน คือ A = 120.0, 8 = 90:30, C = 60.60, D = 30-90, t = 0:120 โดยมีกาวแป้งปริมาณ 150 กรัม เป็นตัว ประสาน และนำมาขึ้นรูปเป็นกระถางเพาะชำ จากการทดสอบลักษณะทางกายภาพของกระถาง คือ ทดสอบความแข็งแรง ทดสอบการอุ้มน้ำ และทดสอบการย่อยสลาย พบว่า กระถางอัตราส่วน 1200 และ 90:30 มีการแตกบริเวณท้ายกระถาง และกระถางอัตราส่วน 60,60, 30,90, 0.120 มีความ แข็งแรงดี เพราะสภาพของกระถางหลังจากการทดสอบการตกกระแทกกระถางยังคงรูปได้ดี ส่วนการ อุ้มน้ำและการย่อยสลาย พบว่า กระถางที่มีอัตราส่วนของทะลายปาล์มเพาะเห็ดต่อใยปาล์ม 60x60 มี ความสามารถในการอุ้มน้ำและการย่อยสลายได้ดีที่สุด ดังนั้นกระถางที่นำมาใช้ประโยชน์ในการเพราะจำได้ดีคือ กระถางที่มีทะลายปาล์มเพาะเห็ดและใยปาล์มในอัตราส่วน 60.60 และใช้กาวแป้งเป็นวัสดุ ประสาน 150 กรัม

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การพัฒนากระถางเพาะชำชีวภาพจากทะลายปาล์มเพาะเห็ดและใยปาล์ม