การศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้สารสกัดจากเปลือกมะนาวและใบพลูยับยั้งเชื้ออีโคไล (The Feasibility Study for Coarse Extraction from Lime Bark and Bettel Leaves to Inhibit the Growth of E. coli)

ประเภท: 

โครงงานนักศึกษา

ผู้แต่ง: 

วัลภา แก้วหนูนวล, สุนิดา จินพล

สำนักพิมพ์: 

โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2560

เลขหมู่: 

ว.615.321 ว117ก

รายละเอียด: 

เชื้ออีโคโล (Escherichia coli E. coli) เป็นเชื้อที่พบได้ในลำไส้ใหญ่และในอุจจาระ ของมนุษย์และสัตว์เลือดอุ่น เมื่อมนุษย์ได้รับเชื้ออาจส่งผลให้ถ่ายอุจาระเหลว การรักษานิยมใช้ยา ปฏิชีวนะ ซึ่งอาจเกิดการตกค้างในร่างกายและเกิดอาการดื้อยา การนำพืชสมุนไพรมาใช้เป็นยาจึงเป็น ทางเลือกที่ดีในการลดผลกระทบที่เกิดขึ้น การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมใน การสกัดสารจากเปลือกมะนาวและใบพลูด้วยเอทานอลร้อยละ 95 และความเป็นไปได้ในการใช้สาร สกัดจากเปลือกมะนาวและใบพลูในการยับยั้งเชื้ออีโคไล ผลการศึกษาพบว่าอัตราส่วนของพืชแห้งต่อเอทานอลร้อยละ 95 ที่ 1:7 เหมาะสมใน การสกัดสาร โดยใช้ระยะเวลาในการสกัด 7 วัน ซึ่งให้ร้อยละผลิตภัณฑ์ของสารสกัดจากเปลือก มะนาวและใบพลู เท่ากับร้อยละ 31.37 และ 34.71 ตามลำดับ เมื่อนำสารสกัดจากสมุนไพรที่ได้ไป ทดสอบการยับยั้งเชื้ออีโคไล ด้วยวิธีอาร์กา เวล ดิฟฟิวชั่น (Agar welt diffusion) ที่ความเข้มข้น 0.1 0.2 0.3 และ 0.4 ug/mL พบว่าที่ความเข้มข้น 0.4 ug/mL สารสกัดสูตรใบพลูมีประสิทธิภาพในการ ยับยั้งเชื้ออีโคไลสูงสุด ซึ่งมีประสิทธิภาพของบริเวณการยับยั้ง (Inhibition Zone) เฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 100 รองลงมาเป็นสูตรผสมเปลือกมะนาวและใบพลู (อัตราส่วน 1:1) และสูตรเปลือกมะนาวมีค่าเฉลี่ย ร้อยละของบริเวณยับยั้งเท่ากับ 79.17 และ 52.08 ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้สารสกัดจากเปลือกมะนาวและใบพลูยับยั้งเชื้ออีโคไล