การหาอัตราส่วนที่เหมาะสมของเถ้าแกรบกับเถ้าขี้เลื่อยสำหรับอิฐบล็อกไม่รับน้ำหนัก ( Study on proper ratio of rice husk ash to sawdust ash for hollow noon-load-bearing concrete masonry unit)

ประเภท: 

โครงงานนักศึกษา

ผู้แต่ง: 

วิจิตร พรมสุวรรณ, วาซินีย์ หลำเบ็นสะ

สำนักพิมพ์: 

โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2555

เลขหมู่: 

ว.620.14 ว32ก

รายละเอียด: 

งานวิจัยเล่มนี้เป็นการหาอัตราส่วนที่เหมาะสมของเถ้าแกลบกับเถ้าขี้เลื่อย สำหรับอิฐบล็อก ไม่รับน้ำหนัก ซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เป็นการศึกษาที่ได้นำ เถ้าแกลบกับเถ้าขี้เลื่อยเข้ามาผสมในอิฐบล็อก กำหนดอัตราส่วนที่เหมาะสม คือ 1: 0.5: 1: 1.83 โดย มีความแตกต่างในส่วนของเถ้าแกลบกับเถ้าขี้เลื่อย ซึ่งแบ่งเป็น 5 ชุดการทดลอง คือ 1.83: 0.00 1.37: 0.46, 0.915: 0.915, 0.46: 1.37 และ0.00 1.83 ตามลำดับ โดยทำการทดสอบประสิทธิภาพ 4 วิธี คือ กำลังต้านแรงอัด การดูดกลืนน้ำ ความชื้น และการเปลี่ยนแปลงความยาว พบว่า กำลังต้าน แรงอัดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.1, 3.69, 4.89, 5.74 และ8.95 เมกะพาสคาล ตามลำดับ การดูดกลืนน้ำมี ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 33.67, 30.05, 25.05, 17.04 และ11.59 ตามลำดับ ความชื้นมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.89, 6.17, 5.24, 4.64 และ3.13 ตามลำดับ และการเปลี่ยนแปลงความยาวมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.043, 0.051, 0.051, 0.085 และ0.111 ตามลำดับ เมื่อนำผลการการทดสอบประสิทธิภาพ 5 ชุดการทดลองมาเปรียบเทียบมาตรฐาน มอก. 58-2533 เรื่อง ออนกรีตบล็อกไม่รับน้ำหนัก พบว่า อัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุด คือ ชุดการ ทดลองที่ 3 ปูนซีเมนต์: ทราย: น้ำ: เถ้าแกลบ: เถ้าขี้เลื่อย (1: 0.5:1 0.915: 0.915) เนื่องจากผลการ ทดสอบประสิทธิภาพกำลังต้านแรงอัด การดูดกลืนน้ำ ความชื้น และการเปลี่ยนแปลงความยาว มีค่า ใกล้เคียงค่ามาตรฐาน มอก.58-2533 เรื่อง คอนกรีตบล็อกไม่รับน้ำหนักมากที่สุด และยังมีคุณสมบัติ เป็นไปตามลักษณะของอิฐบล็อกที่ต้องการ

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การหาอัตราส่วนที่เหมาะสมของเถ้าแกรบกับเถ้าขี้เลื่อยสำหรับอิฐบล็อกไม่รับน้ำหนัก