การศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้เส้นใยปาล์มน้ำมันทดแทนดินลูกรังในการทำอิฐบล็อกประสาน (Feasibility Study of Using Oil Plam Fibers to Replace Gravel in the Brick Block Production)

ประเภท: 

โครงงานนักศึกษา

ผู้แต่ง: 

อัจจิมา ไชยศิริ, สรญา สีดาวเดือน

สำนักพิมพ์: 

โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2558

เลขหมู่: 

ว.620.14 อ112ก

รายละเอียด: 

การศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้เส้นใยปาล์มน้ำมันทดแทนดินลูกรังในการทำอิฐ บล็อกประสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาร้อยละการทดแทนดินลูกรังที่เหมาะสมและความเป็นไปได้ใน การนำเส้นใยปาล์มน้ำมันมาใช้เป็นวัสดุทดแทนดินลูกรังสำหรับผลิตอิฐบล็อกประสาน โดยศึกษาร้อย ละการทดแทนดินลูกรังด้วยเส้นใยปาล์มน้ำมัน มีทั้งหมด 7 ชุติการทดลอง ได้แก่ ร้อยละการทดแทน 0 5 10 15 20 25 และ 30 ตามลำดับ โดยทำการทดสอบมาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่ได้ ได้แก่ การเปลี่ยน แปลงขนาด น้ำหนัก ความหนาแน่น การดูดกลืนน้ำและการรับแรงอัด ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ชุมชน 602/2547 ชนิดไม่รับน้ำหนัก พบว่ามี 5. ชุดการทดลอง ที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน คือ ร้อยละ การทดแทน 0 5 10 15 และ 20 ซึ่งการเปลี่ยนแปลงขนาดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.0 0.0 0.0 0.1 และ 0.2 ซม. ตามลำดับ น้ำหนักมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.664 5.456 5. 249 5.080 และ 4.857 kg ตามลำดับ ความหนาแน่นมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1,740.67 1,665.54 1,604.42 1,546.62 และ 1,474.37 kgym ตามลำดับ การดูดกลืนน้ำมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 126.72 130.00 161.80 175.81 และ 192.06 kg/m ตามลำดับ และการรับแรงอัดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 6.39 5.88 5.19 4.34 และ 3.27 เมกะพาสคัล ตามลำดับ โดยพบว่าร้อยละการทดแทนที่ดีที่สุด คือร้อยละการทดแทน 20 ผลวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตเบื้องต้น พบว่า ร้อยละการทดแทน 20 มีต้นทุนการผลิต ต้นสุด ซึ่งมีค่าเท่ากับ 6.17 บาท/ก้อน แต่เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับราคาอิฐบล็อกประสานชนิดไม่รับ น้ำหนักตามท้องตลาด พบว่า มีราคา 7 บาท/ก้อน ซึ่งอิฐบล็อกประสานจากเส้นใยปาล์มน้ำมันมีราคา ถูกกว่า 83 สตางค์/ก้อน จึงมีความเป็นไปได้ที่จะนำมาผลิตเป็นอิฐบล็อกประสานเพื่อการพาณิชย์

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้เส้นใยปาล์มน้ำมันทดแทนดินลูกรังในการทำอิฐบล็อกประสาน